lgp ngv

ข้อมูลเปรียบเทียบแรงดันในถัง LPG กับ NGV ดังนี้...
..แรงดันลมยางรถจักรยานยนต์มี 2 บาร์( 1 บาร์เท่ากับ 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ลมยางเติม 30 ปอนด์ ก็เท่ากับ 2 บาร์
ลองนึกดูว่าแรงดันลมยางจากจุก ระดับ 2 บาร์นั้นพ่นฟู่แรงไหม
แล้วเทียบกับจำนวนเท่าของ LPG ที่มีแรงดันในถัง 2-5 เท่า
ส่วน NGV แรงดัน 100 เท่า ของแรงดันลมยาง (บรื๋อ)
ที่สำคัญ...ถ้า...
ถังน้ำมันรั่วซึม ก็แค่เลอะ หรือหยดติ๋งๆ
ถังแก๊ส LPG รั่ว ก็แค่กลิ่นเหม็น เสียงฟู่ และจางหาย
ถัง NGV รั่ว กรณีโดนชนจนรั่วนะครับ มันจะพุ่งจูดเป็นจรวดเลยล่ะ
ทำไม NGV จึงแรงดันสูงกว่า LPG
เกริ่น
...NGV = Natural Gas For Vehicle = แก๊สธรรมชาติสำหรับรถยนต์
แต่ทั่วโลกเรียก..CNG=Compress Natural Gas = แก๊สธรรมชาติอัด
คำตอบ...
...LPG ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ
...NGV เจาะพื้นโลกหรือใต้ทะเลแล้วเจอ น่าจะเรียกว่าไอน้ำมันดิบ เพราะลอยอยู่เหนือน้ำมันดิบในหลุม จึงมีความเบาบาง
...ความเบาบาง จึงต้องอัดเข้าไปในถังให้อัดแน่นมากๆ เพราะจะได้เนื้อแก๊สต่อถังให้ใช้ได้เป็นเวลานาน
ทั่วโลกนิยมคือ 200 บาร์ ด้วยถังเหล็ก หนาและหนัก และบังคับตรวจสภาพถังทุกๆ ปี แก๊สหุงต้มตรวจทุก 5 ปี
...ถังน้ำมันเบนซิน หนา 1 มิลลิเมตรเศษ
...ถัง LPG หนา 2.5-3 มิลลิเมตร อัดเกิน ก็ออกตามรอยรั่วของวาล์ว
...ถัง NGV หนา 10 มิลลิเมตร์ รั่วไม่ได้ ถ้ารั่วแล้วพุ่งขึ้นฟ้า
...หรือเด็กเติมแก๊ส ต่างด้าว มัวเหล่สาวเพลิน เติม NGV เกิน.. ตูมมมมมม..
...สรุปคือ....ใช้ NGV ต้องใช้ถังที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย.....
ถังก๊าซที่ผลิตได้นะมันเฉพาะLPGครับ บางส่วนด้วยไม่ได้ทุกชนิด ส่วนNGV มานผลิตไม่ได้ครับ เพราะเป็นถังไม่มีตะเข็บแบบ LPG ทีนี้ถังก๊าซLPG ที่มีตะเข็บนะเคาะเอาเหล็กแผ่น1.8มม.มาม้วนขึ้นรูป ส่วนฝาก็เอามาเหยียบด้วยไฮดรอลิค ที่สำคัญแนวเชื่อม ต้องทำ RT. (Radiographic testing ) เค้าสุ่มเอาครับมาตรฐานเมืองไทยอะ เล่นล๊อตละ5-10ชิ้น สรุปแล้ว... ไม่ได้ทำทุกชิ้นนะ เพราะการเชื่อมถังก๊าซนะใช้ระบบหัวเชื่อมอัตโนมัติ ตั้งค่าครั้งเดียวเท่านั้น มันก็พอได้นะ แต่ถามว่ามีเปอร์เซนต์บกพร่องหลุดไหม ตอบว่ามีครับ มากน้อยอยู่ที่หลายๆด้าน อุณหภูมิก็มีส่วนนะครับ ส่วนถังNGVนะถังไม่มีตะเข็บนะความหนาที่6.0มม. โดยมาสั่งเข้ามาจาก อิตาลี บราซิล อินเดีย จีน (เรียงตามลำดับความหนักของถังที่ขนาดเดียวกัน) ส่วนประกอบนำเข้าทุกชิ้น ................ เรื่องValve หัวถังเมืองไทยผลิตไม่ได้ครับ ถ้าทำได้จะหาคนซื้อได้หรือเปล่าไม่ทราบ

นิตยสาร THAIDRIVER ปีที 8 เล่มที่ 93 ฉบับเดือน เมษายน 2550

http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=30312.0

ความแตกต่างระหว่างก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Vehicles: NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas: LPG)

• ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทน (Methane) เป็น ส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ การขนส่งไปยังผู้ใช้จะขนส่งผ่านทางท่อในรูปก๊าซภายใต้ ความดันสูง จึงไม่เหมาะสำหรับการขนส่งไกลๆ หรืออาจบรรจุใส่ถังในรูปก๊าซธรรมชาติอัดโดยใช้ความดันสูง หรือที่เรียกว่า CNG แต่ปัจจุบันมีการส่งก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลวโดยทำก๊าซให้เย็นลงถึง –160 องศา เซลเซียส จะได้ของเหลวที่เรียกว่า Liquefied Natural Gas หรือ LNG ซึ่งสามารถขนส่งทางเรือไปที่ไกลๆ ได้ และเมื่อถึงปลายทางก่อนนำมาใช้ก็จะทำให้ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลับเป็นก๊าซอย่างเดิม ก๊าซธรรมชาติมีค่า ออกเทนสูงถึง 120 RON จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ได้

• ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซโพรเพน (Propane) เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ โดยตัว LPG เองไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ แต่เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศจึงมีการสะสมและลุกไหม้ได้ง่าย ดังนั้น จึงมีข้อกำหนดให้เติมสารมีกลิ่น เพื่อเป็นการเตือนภัยหากเกิดการรั่วไหล LPG ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนและกิจการอุตสาหกรรม โดยบรรจุเป็นของเหลวใส่ถังที่ทนความดันเพื่อให้ขนถ่ายง่าย นอกจากนี้ ยังนิยมใช้แทนน้ำมันเบนซินในรถยนต์ เนื่องจากราคาถูกกว่า และมีค่าออกเทนสูงถึง 105 RON
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของ NG กับ LPG

หมายเหตุ
1. ค่าออกเทน (Octane number) หมายถึง หน่วยการวัดความสามารถ ในการต้านทานการน็อคของเครื่องยนต์ 2. RON (Research Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ที่ทำงานอยู่ในรอบของช่วงหมุนต่ำ โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 600 รอบ ต่อนาที 3. MON (Motor Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ในขณะทำงานที่รอบสูง โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 900 รอบต่อนาที

หมายเหตุ : ค่าแรงดันก๊าซ
LPG ขณะอยู่ในถังมีสถานะเป็นของเหลว มีค่าแรงดัน 100-130 PSI ( ปอล์นต่อตารางนิ้ว) หรือ 4-6 BAR
NGV ขณะอยู่ในถังมีสถานะเป็นก๊าซ มีค่าแรงดัดประมาณ 2200-2800 PSI หากเติมเต็มๆจะถึง 3000 PSI หรือ 200 BAR


ที่มา:การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

http://www.sciencecenter.sru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=6&Itemid=10

LPG คืออะไร ?
LPG ย่อมาจาก Liquid Petroleum Gas เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีองค์ประกอบของ ก๊าซโพรเพน(Propane) เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ โดยตัว LPG เองไม่มีสี ไม่มีกลิ่น

ตารางคุณสมบัติของ LPG

คุณสมบัติ

NGV

LPG

สถานะปกติ

ก๊าซ (เบากว่าอากาศ)

ก๊าซ (หนักกว่าอากาศ)

แรงดันเมื่ออยู่ในถัง

2200 - 2800 PSI
หรือประมาณ 200 BAR

100 -130 PSI
หรือ 4-6 BAR

จุดเดือด (องศาเซลเซียส)

-162

-50 ถึง 0

อุณภูมิจุดระเบิดในอากาศ (องศาเซลเซียส)

540

400

ช่วงติดไฟในอากาศ (ร้อยละโดยปริมาตร)

ค่าสูง

15

15

ค่าต่ำ

5

1.5

ค่าออกเทน 1/

RON2/

120

105

MON3/

120

97



คุณสมบัติทางกายภาพของ LPG
1. คุณสมบัติทางกายภาพ ณ สถานะเป็นของเหลว
- จุดเดือด และสภาวะวิกฤต แอลพีจีมีจุดเดือดต่ำมาก โดยหากเป็นแอลพีจีที่มีส่วนประกอบเป็นโปรเพน จะมีจุดเดือดที่ –42 องศาเซลเซียส
- ความหนาแน่น ปริมาตรจาเพาะและความถ่วงจาเพาะ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในสถานะที่เป็นของเหลวจะเบากว่าน้ำ โดยค่าความ
ถ่วงจ้าเพาะของแอลพีจีที่มีส่วนประกอบเป็นโปรเปนเหลวที่อุณหภูมิ 15 0C มีค่าเท่ากับ
0.5077
- ความหนืด ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในสภาพของเหลวจะมีความหนืดน้อยมาก (ความหนืด
ของน้ำเท่ากับ 1 เซนติพอยส์) จากคุณสมบัติอันนี้ ท้าให้ก๊าซเหลวรั่วซึมได้ง่ายกว่า
ของเหลวชนิดอื่น
- ความดันไอ (Vapor Pressure) ก๊าซแอลพีจีเมื่อถูกบรรจุอยู่ในภาชนะปิดภายใต้ความดันจะมีสถานะเป็นของเหลว แอลพีจีเหลวระเหยเป็นไอเต็มช่องว่างที่อยู่เหนือระดับส่วนที่เป็นของเหลว
- ความร้อนจาเพาะ เมื่ออยู่ในสถานะของเหลว ความดันคงที่ 1 บรรยากาศ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซีย สค่าความร้อนจำเพาะของแอลพีจีที่มีส่วนประกอบเป็นโปรเพน เท่ากับ 0.6023
- สัมประสิทธิ์การขยายตัว ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวที่ 15 องศาเซลเซียส ประมาณ 0.300/0C

2. คุณสมบัติทางกายภาพ ณ สถานะเป็นก๊าซ
- ความหนาแน่น ปริมาตรจาเพาะและความถ่วงจำเพาะ ที่อุณหภูมิ 15.50C (600F) ณ ความดันบรรยากาศ โปรเปน มีค่าความถ่วงจำเพาะเมื่อเป็นก๊าซ เท่ากับ 1.5 ดังนั้นก๊าซปิโตรเลียมเหลวในสถานะที่เป็นก๊าซจะหนักกว่าอากาศเมื่อเกิดการรั่วไหลขึ้นก๊าซจะไปรวมตัวอยู่ในที่ต่ำ
- ความสามารถในการอัดตัวของก๊าซแอลพีจี (Compressibility factor ) ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ณ ความดันบรรยากาศ โปรเปนมีค่า Z = 0.984
- ค่าอ๊อกเทน (Octane Number) ก๊าซแอลพีจีมีค่าอ๊อกเทนสูง ประมาณ 95-110 ซึ่งสูงกว่าค่าอ๊อกเทนของน้ำมันเบนซิน จึงเหมาะกับการใช้เป็นเชื้อเพลิงของรถยนต์มาก
- อัตราส่วนปริมาตรของเหลว/ก๊าซ (Liquid/Vapor Volume Ratio) แอลพีจีเหลวเมื่อระเหยและเปลี่ยนสถานะไปเป็นก๊าซ ปริมาตรจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก กล่าวคือที่อุณหภูมิ 15.5 องศาเซลเซียส (60 F) โปรเพนเหลว 1 หน่วยปริมาตร เมื่อกลายเป็นก๊าซจะมีปริมาตรเป็น 274 หน่วย
- ปริมาณอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ (Air Requirement) ก๊าซแอลพีจีเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ทั้งหมดก็จะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ

http://www.sog.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=10&Itemid=11&lang=th