ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด 

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์         สาระการเรียนรู้พื้นฐาน 

รหัสวิชา ว33161 วิชา โลกดาราศาสตร์และอวกาศ  (SCI33161  Earth Astronomy and Space)ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4-6    ภาคเรียนที่ 1    เวลาเรียน 40 ชั่วโมง   จำนวน 1.0 หน่วยกิต

.......................................................................

1. สืบค้นและอธิบายหลักการในการแบ่งโครงสร้างโลก  (ว 6.1 ม.4-6/1)
2. ทดลองเลียนแบบและอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาคของโลก (ว 6.1 ม.4-6/2)
3. ทดลองเลียนแบบและอธิบายกระบวนการเกิดภูเขา รอยเลื่อน รอยคดโค้ง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด         (ว 6.1 ม.4-6/3)
4. สืบค้นและอธิบายความสําคัญของปรากฏการณทางธรณีวิทยาแผ่นดินไหว  ภูเขาไฟระเบิด  ที่ส่งผลตอสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดลอม (ว 6.1 ม.4-6/4)
5. สำรวจ วิเคราะห์และอธิบาย     การลําดับชั้นหินจากการวางตัวของชั้นหิน  ซากดึกดําบรรพ และโครงสราง ทางธรณีวิทยา  เพื่ออธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่ (ว 6.1 ม.4-6/5)
6. สืบค้น วิเคราะห์ และอธิบายประโยชน์ของข้อมูลทางธรณีวิทยา (ว 6.1 ม.4-6/6)
7. สืบค้นและอธิบายการเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี และเอกภพ (ว 7.1 ม.4-6/1)
8. สืบค้นและอธิบายธรรมชาติและวัฒนาการของดาวฤกษ์ (ว 7.1 ม.4-6/2)
9. สืบค้นและอธิบายการสง  และคำนวณความเร็วในการโคจรของดาวเทียมรอบโลก (ว 7.2 ม.4-6/1)
10. สืบค้นและอธิบายประโยชน์ของดาวเทียมในดานตาง ๆ (ว 7.2 ม.4-6/2)
11. สืบค้นและอธิบายการส่ง  และสํารวจอวกาศโดยใชยานอวกาศและสถานีอวกาศ (ว 7.2 ม.4-6/3)

 12. ตั้งคำถามที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ หรือความสนใจหรือจากประเด็นที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ที่สามารถทำ การสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้(ว8.1 ม.4-6/1)
13. สร้างสมมติฐานที่มีทฤษฎีรองรับ หรือคาดการณ์สิ่งที่จะพบ หรือสร้างแบบจำ ลองหรือสร้างรูปแบบ เพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ (ว8.1 ม.4-6/2)
14. ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่ต้องพิจารณาปัจจัยหรือ ตัวแปรสำคัญ ปัจจัยที่มีผลต่อปัจจัยอื่น ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ และจำนวนครั้งของการสำรวจ ตรวจสอบ เพื่อให้ได้ผลที่มีความเชื่อมั่นอย่างเพียงพอ (ว8.1 ม.4-6/3)
15. เลือกวัสดุ เทคนิควิธี อุปกรณ์ที่ใช้ในการสังเกต การวัด การสำรวจตรวจสอบอย่างถูกต้องทั้งทางกว้างและลึกในเชิงปริมาณและคุณภาพ (ว8.1 ม.4-6/4)
16. รวบรวมข้อมูลและบันทึกผลการสำรวจตรวจสอบอย่างเป็นระบบถูกต้อง ครอบคลุมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพโดยตรวจสอบความเป็นไปได้ ความเหมาะสมหรือความผิดพลาดของข้อมูล (ว8.1 ม.4-6/5)
17. จัดกระทำข้อมูล โดยคำนึงถึงการรายงานผลเชิงตัวเลขที่มีระดับความถูกต้องและนำเสนอข้อมูลด้วยเทคนิควิธีที่เหมาะสม (ว8.1 ม.4-6/6)
18. วิเคราะห์ข้อมูลแปลความหมาย ข้อมูลและประเมินความสอดคล้องของข้อสรุปหรือสาระสำคัญ เพื่อตรวจสอบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ (ว8.1 ม.4-6/7)19. พิจารณาความน่าเชื่อถือของวิธีการและผลการสำรวจตรวจสอบ โดยใช้หลักความคลาดเคลื่อนของการวัดและการสังเกต เสนอแนะการปรับปรุง วิธีการสำรวจตรวจสอบ (ว8.1 ม.4-6/8)
20. นำผลของการสำรวจตรวจสอบที่ได้ ทั้งวิธีการและองค์ความรู้ที่ได้ไปสร้างคำถามใหม่นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่และในชีวิตจริง (ว8.1 ม.4-6/9)
21. ตระหนักถึงความสำคัญในการที่จะ ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบการอธิบาย การลงความเห็น และการสรุปผล  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่นำเสนอต่อสาธารณชนด้วยความถูกต้อง (ว8.1 ม.4-6/10)
22. บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบอย่างมีเหตุผล ใช้พยานหลักฐานอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อเติมเพื่อ หาหลักฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และยอมรับว่าความรู้เดิม อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มเติมหรือโต้แย้งจากเดิมซึ่งท้าทายให้มีการตรวจสอบอย่างระมัดระวังอันจะนำมาสู่การยอมรับเป็นความรู้ใหม่ (ว8.1 ม.4-6/11)
23. จัดแสดงผลงาน เขียนรายงานและ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ (ว8.1 ม.4-6/12)

 

รวมทั้งหมด  23  ตัวชี้วัด