กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่

 

บทที่  1

สาระสำคัญของการลูกเสือ 

 

                คำว่า “ สาระสำคัญของลูกเสือ ”  นี้มีความหมายตรงคำในภาษาอังกฤษที่ว่า  Fundamental  of  Scouting  คือเป็นแก่น เนื้อแท้หรือหลัก  ส่วนสำคัญของการลูกเสือซึ่งประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้  คือ

  1. วัตถุประสงค์ของการลูกเสือ
  2. หลักสำคัญของการลูกเสือ
  3. คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
  4. แนวการฝึกอบรมลูกเสือ
  5. หลักปฏิบัติของลูกเสือเกี่ยวกับ

( ก )  การเมือง

( ข )  ข้อพิจารณาระหว่างนายจ้างกับกรรมการ

( ค )  ศาสนา

1.  วัตถุประสงค์ของการลูกเสือ

                วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสมัชชาลูกเสือโลก  คือ เพื่อพัฒนาเด็กชาย คนรุ่นหนุ่ม  และคนหนุ่มให้เป็นพลเมืองดีโดย

ก.            การฝึกอบรมบ่มนิสัย

ข.            ฝึกอบรมให้มีนิสัยในการสังเกต ระเบียบวินัยและการพึ่งตนเอง

ค.            พร่ำสอนให้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ซื่อสัตย์สุจริต และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ง.             สอนให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์  และให้รู้จักทำการฝีมือเพื่อประโยชน์ของตนเอง

จ.             ส่งเสริมให้มีการพัฒนาในทางกาย จิตใจ และศีลธรรม

องค์การลูกเสือโลกได้สนับสนุนขบวนการลูกเสือทั่วโลก  โดย

ก.            ส่งเสริมเอกภาพและความเข้าใจในเรื่องวัตถุประสงค์  และหลักการของลูกเสือ

ข.            ให้ความสะดวกในการขยายและพัฒนางานลูกเสือ

ค.            รักษาไว้ซึ่งคุณลักษณะโดยเฉพาะของลูกเสือ

คณะลูกเสือไทยได้ถือเอาบทบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้นเป็นหลัก  และมาตรา  7  แห่งพระราชบัญญัติลูกเสือ  พ. ศ.  2507  ได้มีบทบัญญัติไว้ดังนี้

   “ คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมบ่มนิสัยลูกเสือให้เป็นพลเมืองดี ตามจารีตประเพณีบ้านเมืองและอุดมคติดังต่อไปนี้  ”

  1. ให้มีนิสัยในการสังเกต  จดจำ  เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
  2. ให้ซื่อสัตย์ สุจริต  มีระเบียบวินัย  และเป็นอกเห็นใจผู้อื่น
  3. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
  4. ให้รู้จักทำการฝีมือ
  5. ให้มีการพัฒนาในทางกาย จิตใจ  และศีลธรรม

ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องลัทธิการเมืองใด ๆ

สมควรกล่าวด้วยว่า  ในเรื่องวัตถุประสงค์ของการลูกเสือนี้  คู่มือของคณะลูกเสืออังกฤษฉบับ ปี ค.ศ.1974  มีข้อความสั้น ๆ ว่า

“The Aim of the Association is to encourage the physical, mental and spiritual development of young people, so that they may take a constrictive place in society  ”

ซึ่งอาจแปลเป็นไทย  พอได้ความดังนี้  คือ 

วัตถุประสงค์ของคณะลูกเสืออังกฤษคือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนหนุ่มในทางกาย จิตใจ  และศีลธรรม เพื่อให้คนหนุ่มเหล่านั้นได้มีฐานะในการสร้างเสริมสังคมให้ดีขึ้น

ข้อที่พึงสังเกต  คือ  การลูกเสือเป็นการเสริมการฝึกอบรมที่เด็กได้รับจากทางบ้าน  ทางโรงเรียน และทางวัด

ในเรื่องนี้ บี.พี. ได้กล่าวไว้ในคำนำของหนังสือเรื่องการลูกเสือสำหรับเด็กชายว่า อาจถือว่าการลูกเสือมีส่วนช่วยในกรฝึกอบรมที่โรงเรียน  และสามารถอุดช่องโหว่ซึ่งหลักสูตรโรงเรียนธรรมดาหนีไม่พ้น กล่าวโดยย่อการลูกเสือคือโรงเรียนสอนวิชาหน้าที่พลเมืองด้วยการให้ความรู้ในเชิงพราน (คือความรู้เกี่ยวกับสัตว์และธรรมชาติ)  Scouting is, in a word, a school of citizenship through woodcraft.

วิชาลูกเสือที่อุดช่องโหว่นั้น  ได้แก่สมรรถภาพของเด็กแต่ละคน  โดยการพัฒนาในเรื่อง

นิสัยใจคือและสติปัญญา  Character and Intelligence

สุขภาพ  และพลัง  Health and Strength

การฝีมือ และทักษะ  Handicraft and skill

หน้าที่พลเมืองและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น  Citizenship and Service for others

ในส่วนเกี่ยวกับชาติบ้านเมือง  ความมุ่งหมายของเรา  (การลูกเสือ)  มีเพียงเพื่อจะทำให้เด็กรุ่นหลังเป็นพลเมือนพงดี

                                                                                                                

ตามคติของลูกเสือ  พลเมืองดี  คือ  พลเมืองที่มีเกียรติเชื่อถือได้   มีระเบียบวินัยสามารถบังคับใจตนเองได้  สามารถพึ่งตนเองได้  ทั้งเต็มใจ  และสามารถที่จะช่วยเหลือชุมชน  และสามารถบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น  A good citizen is a man of honor self disciplined self-reliant willing and able to serve the community.

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยาภาภพฤฒิยากร  ทรงเห็นว่า วิชาลูกเสือ คือวิชาจรรยาภาคปฏิบัติ Practical ethics  นั่นเอง

ในทางปฏิบัติ หลักสำคัญของการฝึกอบรมลูกเสือประการหนึ่งคือผู้กำกับลูกเสือจะต้องมีความ           มุ่งหมาย มิใช่เพียงช่วยเหลือเด็กที่เฉลียวฉลาด แต่มุ่งให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่เด็กที่ไม่ค่อยเฉลียวฉลาดด้วย เพราะการลูกเสือต้องการให้เด็กที่ไม่ค่อยเฉลียวฉลาดนั้นได้รับความสนุกสนานจากชีวิต และในเวลาอันเดียวกัน ให้ได้รับประโยชน์และโอกาสบางอย่างที่เด็กซึ่งเคราะห์ดีกว่าได้รับทั้งนี้เพื่อว่าอย่างน้อยที่สุด เด็กที่ไม่ค่อยเฉลียวฉลาดนั้นจักได้มีโอกาสพอสมควรในชีวิต

การลูกเสือแตกต่างจากองค์การเยาวชนอื่นในข้อที่ว่า การลูกเสือมุ่งหมายฝึกอบรมเด็กอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป จนกระทั่งเด็กนั้นเติบโตเป็นชายหนุ่ม  คืออายุระหว่าง 23-25 ปี การลูกเสือจึงมีแผนการฝึกอบรมที่ต่อเนื่องกันและสูงขึ้นตามลำดับ  เพื่อให้เหมาะสมกับวัยและความเจริญก้าวหน้าของเด็ก

2.  หลักสำคัญของการลูกเสือ Fundamental Principles of Scouting

                ข้อ 4  แห่งรัฐธรรมนูญของสมัชชาลูกเสือโลกมีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักสำคัญของลูกเสือไว้ 8 ประการดังนี้

  1. หน้าที่ต่อพระผู้เป็นเจ้า / ศาสนา Duty to God / Religion
  2. ความจงรักภักดีต่อประเทศของตน Loyalty  to  one , own  country
  3. ความศรัทธาในมิตรภาพและความเป็นพี่น้องของลูกเสือทั่วโลก Belief in World Friendship and Brotherhood.
  4. การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น Service to other
  5. การยอมรับและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ Acceptance and adherence to the Scout Promise and Law
  6. การเข้าเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ Voluntary membership


  1. ความเป็นอิสระต่อบรรดาอิทธิพลทางการเมือง  Independence of all political influence
  2. มีกำหนดการพิเศษสำหรับฝึกอบรมเด็กชาย และคนหนุ่ม เพื่อให้เป็นพลเมืองดี รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้เป็นรากฐาน คือ ระบบหมู่ และระบบหมู่ การทดสอบเป็นขั้น ๆ และเครื่องหมายวิชาพิเศษ และกิจกรรมกลางแจ้ง  The unique programme for training boys and young men for responsible citizenship based upon the Patrol and Group System, a graded series of tests and proficiency badges, and open – air active ties.

ที่ประชมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่  24  ณ ประเทศเคนยา ได้ลงมติให้บัญญัติหลักของขบวนการลูกเสือไว้ดังนี้  คือ

  1. การยอมรับและปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ  ดังที่ลอร์ด

เบเดน  เพาเวลล์   ผู้ให้กำเนิดการลูกเสือและประมุขลูกเสือโลก  ได้กำหนดดังที่ได้อ้างไว้ในข้อ 4 แห่งธรรมนูญของที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลก

  1. การฝึกอบรมเด็กชาย  เยาวชน  และคนหนุ่ม  โดยวิธีพิเศษ  ซึ่งยึดเรื่องต่อไปนี้นี้เป็นหลัก

คือ

ระบบหมู่และระบบกลุ่ม การทดสอบเป็นขั้นๆ และเครื่องหมายวิชาพิเศษ  กับประกอบด้วย

ก.            ยอมรับว่าลูกเสือเป็นสมาชิกขององค์การที่ถือว่าลูกเสือเป็นพี่น้องกันด้วยความสมัคร

ใจ ซึ่งมีผู้ใหญ่เป็นผู้ให้คำแนะนำ  และมีระบบการปกครองตนเองเพิ่มขึ้นโดยลำดับตามวัย

ข.            เปิดให้ลูกเสือกิจกรรมและความสำเร็จในการทำงานอย่างสนุกสนานเนืองๆ ในบริเวณ

กลางแจ้งเป็นส่วนใหญ่

ค.            ให้ลูกเสือมีโอกาสบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

ง.             มอบหมายให้ลูกเสือมีคความรับผิดชอบสำหรับตนเองและผู้อื่นเพิ่มขึ้นโดยลำดับเพื่อ

ให้เกิดสมรรถภาพ ความเชื่อมั่นในตนเอง นิสัยที่ดี  เชื่อถือได้ กับมีความสามารถทั้งในการร่วมมือและการเป็นผู้นำ

3.  ความเป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

 

คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

Scout Promise and Law

             เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ลูกเสือทุกคนคงจะทราบดีแล้ว  แต่มีเรื่องที่ใคร่ขอชี้แจงเพิ่มเติม  คือ

  1. คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสำรองใช้เฉพาะลูกเสือสำรอง  ส่วนลูกเสือประเภทอื่น ตลอดจนผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ใช้คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือทั่วไป
  2. คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสำรอง บี- พี กำหนดไว้ดังนี้

The  Wold  Cub Promise

อังกฤษ   :             I promise to do my best –

อเมริกา  :              To do my duty to god and the Queen, (king)

                          To keep the law of the Wolf Cub Pack,

                          And to do a good turn to somebody every day.

The  Law  of  the  Wolf  Cub  Pack

  1. The Cub gives in to the Old Wolf.
  2. The Cub does not give in to himself.

คณะลูกเสือไทยได้กำหนดคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสำรองโดยอนุโลมตามหลักการของ บี – พี คือ

คำปฏิญาณของลูกเสือสำรอง

                ข้าสัญญาว่า

                ข้อ 1       ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

                ข้อ 2       ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ทุกวัน

                กฎของลูกเสือสำรอง

                ข้อ  1      ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่

                ข้อ  2      ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง

                Cub motto  (คติพจน์ลูกเสือสำรอง)

                “ Do Own Best ”


  1. คำปฏิญาณและกฎของลูกเสืออื่น ตลอดจนผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ดังที่ บี – พีกำหนดไว้ และปรากฏในธรรมนูญของสมัชชาลูกเสือโลก คือ
The Scout Promise

            On my honor

                I promise that I will do my best

                To do my duty to God and the King or God and my country,

                To help other people at all times,

                To obey the Scout Law.

The  Scout  Law

            1.  A Scout’s honor is to be trusted.

                2. A Scout is loyal.

                3. A Scout’s duty is to be useful and to help others.

                4. A Scout, s a friend to all and a brother to every other Scout.

                5. A Scout’s courteous.

                6. A Scout is a friend to animals.

                7. A Scout obeys orders of his parents, Patrol Leader or  Scoutmaster without

                   Question.

                8. A Scout smiles and whistles under all difficulties.

                9. A Scout is thrifty.

                10. A  Scout  is  clean  in  thought  word and deed.

คณะลูกเสือไทยได้กำหนดคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือยกเว้น ลูกเสือสำรองโดยอนุโลมตามบทบัญญัติของสมัชชาลูกเสือโลก  ดังนี้

คำปฏิญาณของลูกเสือ

                ด้วยเกียรติของข้า  ข้าสัญญาว่า

                                ข้อ  1      ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์

                                ข้อ  2      ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ

                                ข้อ  3      ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

กฎของลูกเสือ

                ข้อ  1      ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้

                ข้อ  2      ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์  และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ

                ข้อ  3      ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์ และช่วยเหลือผู้อื่น

                ข้อ  4      ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคน และเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก

                ข้อ  5      ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย

                ข้อ  6      ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์

                ข้อ  7      ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา  และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ

                ข้อ  8      ลูกเสือมีใจร่าเริง และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก 

                ข้อ  9      ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์

                ข้อ  10   ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

                4.  กฎของลูกเสือของบางประเทศไม่เหมือนกับที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญของสมัชชาลูกเสือโลก เช่น ของคณะลูกเสืออังกฤษมีกฎ 7 ข้อ ของคณะลูกเสืออเมริกัน มี 12 ข้อ แต่หลักการที่สำคัญ ๆ

คงเหมือนหรือคล้ายคลึงกับที่ตราไว้ในธรรมนูญของสมัชชาลูกเสือโลก

                กฎของลูกเสืออังกฤษ  7 ข้อ มีดังนี้

                The  Scout  Law  is

            1.  A Scout is   to be trusted.

                2.  A Scout is loyal.

                3.  A Scout is friendly and considerate.

                4.  A Scout is a brother to all Scouts.

                5.  A Scout has courage in all difficulties.

  1. A Scout makes good use of his time and is careful of possessions and property.
  2. A Scout has respect for himself and for others.

กฎของลูกเสืออเมริกันมี 12 ข้อ  ดังนี้

  1. A Scout is trustworthy.
  2. A Scout is loyal.
  3. A Scout is helpful.
  4. A Scout is friendly.

 

 


  1. A Scout is conrteous.
  2. A Scout is kind.
  3. A Scout is obedient.
  4. A Scout is cheerful.
  5. A Scout is thrifty.
  6. A Scout is brave.
  7. A Scout is clean.
  8. A Scout is reverent.

5.  เจ้าหน้าที่ลูกเสือทุกคนจะต้องจดจำคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสำรอง และของลูกเสืออื่นตามที่คณะลูกเสือแห่งชาติกำหนดไว้ให้ได้ทุกตัวอักษรกับจะต้องพยายามปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือในชีวิตประจำวัน อย่างดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ทั้งนี้เพราะคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือในชีวิตประจำวัน อย่างดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ทั้งนี้เพราะคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือเป็นหลักสำคัญของการลูกเสือ และอาจเปรียบได้เสมือนเป็นศีลของลูกเสือ ซึ่งเจ้าหน้าที่ลูกเสือพึงปฏิบัติตามเพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่เด็กที่เป็นลูกเสือ

6.  ในระหว่างการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ และในระหว่างการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือทุกครั้งจะมีการประกาศว่า กฎของลูกเสือคือกฎของค่ายนี้ ซึ่งก็นับว่าสั้นได้ผลดีพอสมควร และเป็นที่ยอมรับกันในวงการลูกเสือทั่วโลก

 

4.  แนวการฝึกอบรมรมลูกเสือ

               

ดังได้กล่าวข้างต้น การลูกเสือมีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกอบรมเด็กให้เป็นพลเมืองดี คือ เป็นบุคคลที่มีเกียรติเชื่อถือได้  มีระเบียบวินัย  สามารถบังคับใจตนเอง สามารถพึ่งตนเองทั้งสามารถและเต็มใจที่จะช่วยเหลือชุมชน  และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น

                ในการวางแผนฝึกอบรมลูกเสือ บี – พี ได้คำนึงถึงตัวเด็กและความต้องการของเด็กเป็นสำคัญกล่าวโดยย่อ สิ่งที่เด็กต้องการมี 5 อย่าง คือ

  1. ผจญภัย Adventure ได้แก่การเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ที่ตื่นเต้น  และไม่คาดหมายมาก่อน
  2. ได้เพื่อน  Comradeship ได้แก่การที่มีเด็กอื่นเป็นเพื่อน
  3. เถื่อนธาร  The Outdoor World ได้แก่โลกภายนอกประกอบด้วย ป่า เขา ลำธาร และทุ่งนา
  4. การสนุก Good Fun ได้แก่ความสนุกสนานในการประกอบกิจกรรมต่างๆ
  5. สุขสม  A feeling of achievement   ได้แก่ความรู้สึกภูมิใจในการที่ตนได้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนประสบความสำเร็จ

ดังนั้น บี – พี จึงได้เอาความต้องการและสิ่งที่เด็กทั้งหลายชอบกระทำมาเป็นพื้นฐานในการวางแนวการฝึกอบรมลูกเสือ ซึ่งมีผู้ใหญ่เป็นผู้ให้คำแนะนำ และมีวิธีการฝึกอบรมที่สนุกสนานดึงดูดใจเด็กและมีระดับค่อยๆ สูงขึ้นตามลำดับเพื่อให้เหมาะสมกับจิตใจ และวัยของเด็กที่กำลังเติบโต

แนวการฝึกอบรมลูกเสือซึ่งบัญญัติไว้ในข้อ 2 แห่งธรรมนูญของสมัชชาลูกเสือโลกมีดังนี้ คือ

1.  ให้เด็กเข้าเป็นสมาชิกของคณะลูกเสือ  ด้วยความสมัครใจโดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้นำและจัดให้ลูกเสือมีการปกครองตนเองเพิ่มขึ้นโดยลำดับตามสมควรแก่วัย

2.  เปิดให้ลูกเสือมีกิจกรรมและประสบความสำเร็จในการทำงานที่ถูกใจเนืองๆ โดยพยายามจัดให้ปฏิบัติในที่กลางแจ้งเป็นส่วนใหญ่

3.  ให้ลูกเสือมีโอกาสบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น

4.  ให้ลูกเสือมีความรับผิดชอบสำหรับตนเองและผู้อื่นเพิ่มขึ้นโดยลำดับ  เพื่อให้เกิดสมรรถภาพ ความเชื่อมั่นในตนเอง  นิสัยที่ดี เชื่อถือได้  กับมีความสามารถทั้งในการร่วมมือและในการเป็นผู้นำ

ในทางปฏิบัติอาจสรุปได้ว่า  แนวการฝึกอบรมลูกเสือมีหลักสำคัญอยู่ 9 ประการ ดังนี้

1.  เครื่องแบบลูกเสือ

                ผู้กำกับพึงสอนให้ลูกเสือเข้าใจว่าเครื่องแบบลูกเสือเป็นเครื่องแบบที่มีเกียรติเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และเป็นเครื่องหมายแห่งความดี  ดังนั้นลูกเสือจะต้องพิถีพิถันในการแต่งเครื่องแบบลูกเสือที่ถูกต้องและสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ  กับทั้งจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกเสือเพื่อเป็นการรักษาชื่อเสียงของตนและของคณะลูกเสือแห่งชาติ  ส่วนเจ้าหน้าที่ลูกเสือทุกคนก็ควรแต่งเครื่องแบบลูกเสือในโอกาสอันควร และถือว่าเครื่องแบบลูกเสือเป็นเครื่องหมายแห่งความเสียสละในการที่ตนได้มีบทบาทในการฝึกอบรมเด็กให้เป็นพลเมืองดี


2.  คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

ผู้กำกับพึงหมั่นฝึกอบรมให้เด็กเข้าใจและปฏิบัติตามคำปฏิญาณ  และกฎของลูกเสืออยู่เสมอโดยเฉพาะในเรื่องความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ความเป็นพี่น้องของลูกเสือทั่วโลกและการกระทำความดีต่างๆ โดยเน้นให้เห็นว่าผู้เป็นพลเมืองดีนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำความดี และมิใช่เป็นคนดี โดยอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร

3.  การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น

เรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้กิจการลูกเสือมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป

นายเกรียง  กีรติกร  กรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ได้บรรยายเรื่องการบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือในที่ประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ปี 2512  ไว้อย่างแจ่มแจ้ง และอาจสรุปได้ดังนี้

รากฐานของคติพจน์ของลูกเสือทั้ง 4 ประเภทเกี่ยวข้องกับอุดมคติของลูกเสือในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น กล่าวคือ

คติพจน์ของลูกเสือสำรองที่ว่า “ ทำดีที่สุด ” นั้น หมายความว่าการทำเพื่อคนอื่นหรือเพื่อส่วนรวม เป็นการกระทำที่ดีที่สุด

คติพจน์ของลูกเสือสามัญที่ “ จงเตรียมพร้อม ” นั้นคือพร้อมที่จะทำความดี พร้อมเพื่อสร้าง พร้อมเพื่อส่วนรวม

คติพจน์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่ว่า “ มองไกล ” นั้นคือมองให้เห็นเหตุผล มองให้เห็นคนอื่น มองให้เห็นส่วนรวม และมิใช่มองแต่ตัวเองหรือผลประโยชน์ของตัวเอง

คติพจน์ของลูกเสือวิสามัญที่ว่า “ บริการ ” นั้นคือการให้ความช่วยเหลือ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น แก่ส่วนรวม

นอกจากนี้ ในคำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือก็ได้ระบุถึงเรื่องการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นโดยถือว่าสำคัญมาก  แหล่งหรือโอกาสที่ลูกเสือจะบำเพ็ญประโยชน์นั้นควรเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กก่อนและขยายให้กว้างขวางออกไปตามวัยและความสามารถของเด็ก  กล่าวคือ

ก.  บ้านของลูกเสือ ควรส่งเสริมให้เด็กมาทำงานในบ้าน หรือบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว เป็นการเพาะนิสัยที่ดีแก่เด็ก

ข.  โรงเรียนหรือที่ตั้งกองลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรส่งเสริมให้เด็กได้ทำงานเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ต่อห้องเรียน ต่อโรงเรียนให้มากที่สุด โดยสอนให้ลูกเสือตระหนักว่า งานเป็นสิ่งที่มีเกียรติ งานเท่านั้นเป็นเครื่องวัดคุณค่าของคน

การส่งเสริมให้ลูกเสือทำงานเป็นหมู่ เป็นคณะ รับผดชอบร่วมกันดีกว่าการทำงานเป็นรายบุคคล     การตั้งกรรมการหรือมอบหมายให้ลูกเสือดำเนินงานในโรงเรียนเป็นชุด ๆ เป็นพิธีการที่ดีที่สุด

ก่อนที่จะให้ลูกเสือทำงาน ควรพูดให้ลูกเสือเข้าใจในงานอันเป็นหน้าที่ที่จะต้องกระทำและ                 คุณประโยชน์ของการทำงานนั้น ๆ เรียกว่า ปฐมนิเทศ และหลังจากลูกเสือได้ทำงานเสร็จแล้วควรมีคการพูดโน้มน้าวให้ลูกเสือได้มองคุณค่าของการทำงานเรียกว่า ปัจฉิมนิเทศ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจถูก    ส่งเสริมความคิด และสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่ลูกเสือ

ค.              บริเวณใกล้ชิดกับโรงเรียนหรือที่ตั้งกองลูกเสือ เช่น วัดหรือสถานที่ตั้งทางศาสนาที่ตั้งโรงเรียนหรือกองลูกเสือตั้งอยู่ ควรถือเป็นกิจวัตรให้ลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ โดยเฉพาะในความสะอาด – ความสวยงามควรให้เด็กทำเป็นการประจำไม่ใช่นานๆ ทำหนึ่งครั้ง

เรื่องการบำเพ็ญประโยชน์ในบ้าน บำเพ็ญประโยชน์ในโรงเรียน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสถานที่ใกล้เคียงทั้ง 3 ประการนี้  เพียงเป็นงานเริ่มต้นสำหรับการบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือต้องสอนและฝึกหัดลูกเสือให้ทำแหล่งเหล่านี้เป็นกิจวัตรเสียก่อน  แล้วจึงค่อย ๆ คิดก้าวไปบำเพ็ญประโยชน์อย่างอื่นที่ไกลออกไปอีก

ง.               งานสาธารณะ งานส่วนรวม หรืองานในหน้าที่พลเมือง ควรเริ่มด้วยการสอนให้เด็กเข้าใจ

ว่า    ลูกเสือเป็นพลเมืองดี แลหน้าที่ของพลเมืองดีอย่างหนึ่ง คือ  การปฏิบัติตามกฎหมาย

และปฏิบัติหน้าที่ของตนทางศีลธรรมและวัฒนธรรม

                ในวันบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือ  คือ วันเสาร์ก่อน วันที่ 25  พฤศจิกายน ควรมีการประสานงานกับชุมชน หรือองค์การในท้องถิ่น  วางโครงการปฏิบัติงานบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือ มีการเตรียมงานและปฏิบัติงานในวันนั้นอย่างจริงจังและทำดีที่สุด

งานส่วนรวมที่ลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์และได้รับการยกย่องจากประชาชนโดยทั่วไปคือ  การควบคุมจราจร และการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมในกรณีที่เกิดสาธารณภัย เช่น อัคคีภัย วาตภัย และอุทกภัย เป็นต้น

จ.  การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ  การลูกเสือมิใช่เพียงสอบทางทฤษฎีให้ลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น  แต่ยังมีการฝึกอบรมให้ลูกเสือมีทัศนะในการให้บริการด้วย โดยเพิ่มหลักเกณฑ์และความรู้ให้สูงขึ้นตามวัยของเด็ก เช่น สำหรับลูกเสือสำรอง มีวิชาปฐมพยาบาลเป็นวิชาพิเศษ ตามข้อบังคับข้อ 160 สำหรับลูกเสือสามัญ  มีวิชาช่วยผู้ประสบภัยเบื้องต้นตามข้อบังคับข้อ 183  และวิชาปฐมพยาบาล  ตามข้อบังคับข้อ 184 ส่วนลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ มีวิชาช่วยผู้ประสบภัยตามข้อบังคับ ข้อ 225  และวิชาพยาบาลตามข้อบังคับข้อ  226

 

4.  วิธีฝึกอบรม  5  ขั้น

กุญแจสำหรับการศึกษาที่ได้ผลดี  มิใช่อยู่ที่การสอนเด็ก  แต่อยู่ที่นำให้เด็กรู้จักเรียนโดยตนเอง

การฝึกอบรมลูกเสือ ถ้าจะให้ประสบผลสำเร็จอย่างเต็มที่  จะต้องให้ก้าวหน้าอยู่เสมอและให้ผ่านชั้นต่างๆ ตามลำดับ คือ ลูกเสือสำรอง  ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  และลูกเสือวิสามัญ

สิ่งจำเป็นประการแรกในการฝึกอบรมเด็ก  คือ ผู้สอนจะต้องมองดูการฝึกอบรมในแง่ของเด็ก แล้วสอนวิชาต่างๆ ดังที่เด็กอยากจะเรียนรู้  และให้เด็กสอนตนเอง โดยผู้สอนไม่ต้องเคี่ยวเข็ญอัดวิชาให้แก่เขา

การสอนแบบบรรยายจะทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายภายในระยะเวลาสั้น ดังนั้นผู้สอนจึงสมควรคิด        ล่วงหน้าแต่ละวันว่า จะต้องการพูดเรื่องอะไร และแล้วจงนำเรื่องนั้น ออกมาสอนทีละน้อยตามโอกาส โดยไม่พูดอย่างยืดยาวในคราวเดียว

การแสดงในทางปฏิบัติ และการฝึกหัดทำจริงบ่อย ๆ ควรจะแทรกเข้าไปในระหว่างคำบรรยาย  เพื่อคุมความตั้งใจของเด็ก และให้เด็กเข้าใจในทฤษฎีที่สอนอย่างแท้จริง

บี – พี กล่าวว่า  การฝึกอบรมลูกเสืออาจแบ่งออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้ คือ

การเตรียม  -  Preparation มีแผนกำหนดงานและอุปกรณ์พร้อม

การแสดง  -  Demonstration  แสดงให้เห็นการกระทำและผลที่ได้รับ

การอธิบาย  -  Explanation บอกว่าทำอย่างไรโดยพิสดาร

ลอกแบบ   -  Imitation ศิษย์ลงมือทำสำหรับตนเอง

การซักถาม – Interrogation ผู้สอนถามเด็ก หรือให้เด็กถาม

                ดังที่ได้กล่าว – แล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า การฝึกอบรมลูกเสือสอดคล้องกับแนวการสอนแผนใหม่ที่ให้ศิษย์เรียนโดยการกระทำ Learning by doing

 

                5.  ระบบหมู่  The  patrol System

 

                ในการฝึกอบรมลูกเสือ  มีการแบ่งลูกเสือออกเป็นกอง และแต่ละกองแบ่งออกเป็นหมู่ หมู่ลูกเสือเป็นหน่วยสำคัญในการดำเนินงานของลูกเสือ  ไม่ว่าสำหรับการงานหรือการเล่นและไม่ว่าจะเป็นเรื่องวินัยหรือหน้าที่

                ก้าวหนึ่งที่มีคุณค่าในการฝึกนิสัยใจคอ  คือ  การอบรมความรับผิดชอบให้แก่บุคคลเรื่องนี้ทำได้ทันทีโดยการแต่งตั้งนายหมู่และรองนายหมู่ ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบังคับบัญชาหมู่ของเขาเป็นเรื่องของนายหมู่ที่จะต้องควบคุม และพัฒนาคุณลักษณะของลูกหมู่ของเขาแต่ละคนโดยมีรองนายหมู่เป็นผู้ช่วย

                ในขั้นลูกเสือสำรอง ลูกเสือสำรองทั้งกองมักจะทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน การแบ่งลูกเสือสำรองออกเป็นหมู่ ๆ ละ 6 คน นั้นก็เพื่อความสะดวกและเพื่อให้นายหมู่ลูกเสือ ได้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเล็กๆ น้อย ๆ เช่น 

-                   ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการแต่งกายของลูกเสือในหมู่ของตน ก่อนที่ผู้กำกับลูกเสือจะมาตรวจ

-                   ดูแลคูหาและหีบอุปกรณ์ของหมู่

-                   เป็นผู้นำของหมู่ในการเล่นเกมและการแข่งขันต่างๆ อย่างว่องไวและด้วยความกระตือรือร้น

-                   ช่วยเหลือในการทบทวนวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรลูกเสือสำรอง

ในขั้นลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  และลูกเสือวิสามัญ  นายหมู่ลูกเสือจะมีบทบาทสำคัญ       ยิ่งขึ้น ในการดำเนินงานตามระบบหมู่เรื่อง “ เชื่อใจเด็ก ” Trust of the boy คือมอบหมายงานและหน้าที่ให้เด็กทำจะกลายเป็นสิ่งที่ได้ผล และเป็นที่ประจักษ์แก่ลูกเสือ ในชั้นต้นลูกเสือจะเรียนรู้ในการตามผู้นำ อาจกล่าวได้ว่า วิธีการลูกเสือได้ผลิตผู้นำในงานสายต่างๆ ซึ่งยอมรับด้วยความยินดีว่าความสำเร็จในการงานของเขานั้นสืบเนื่องมาจากความรู้ที่เขาได้รับจากระบบหมู่ของลูกเสือ

ผู้กำกับลูกเสือทำหน้าที่ฝึกอบรมลูกเสือ เพื่อให้นายหมู่ไปฝึกอบรมลูกเสือในหมู่ของตนอีกต่อหนึ่ง บี- พี กล่าวว่าผู้กำกับลูกเสือคือนายหมู่ของบรรดานายหมู่ลูกเสือในกองของเขา

นายหมู่มีหน้าที่วางแผนปฏิบัติกิจกรรมของหมู่ทั้งการไปอยู่ค่ายพักแรม โดยมีรองนายหมู่เป็นผู้ช่วย และผู้กำกับลูกเสือเป็นผู้ให้คำแนะนำ นอกจากนั้นผู้กำกับและนายหมู่ยังมาประชุมพร้อมกันเป็นครั้งคราวในที่ประชุมนายหมู่ ซึ่งเรียกชื่อในภาษาอังกฤษอย่างไพเราะว่า Court of Honour ที่ประชุมนี้มีหน้าที่รับผิดชอบหลายอย่าง กล่าวคือจะต้องรับผิดชอบในการรักษาเกียรติของกองลูกเสือของตน กับจะต้องพิจารณาแผนปฏิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ แต่หน้าที่สำคัญของที่ประชุมนายหมู่คือ การดูแลรักษามาตรฐานความประพฤติและการปฏิบัติงานของลูกเสือในหมู่ของตน

6.  ระบบเครื่องหมาย The Badge System

ลูกเสือทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมตามวิธีการของลูกเสือ และเมื่อผ่านการทดสอบตามที่กำหนดไว้ จะได้รับเครื่องหมายซึ่งนำมาติดกับเครื่องแบบ เป็นการเชิดชูเกียรติ และแสดงสมรรถภาพของตนส่วนหนึ่ง  ซึ่งเด็กส่วนมากจะรู้สึกพอใจและภูมิใจ ตัวอย่างเช่น ลูกเสือสำรองจะได้รับเครื่องหมาย คือ ดาวดวงที่ 1 และที่ 2 สำหรับติดกับเครื่องแบบในเมื่อตนสอบได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ส่วนลูกเสือสามัญก็มีเครื่องหมายลูกเสือโท ลูกเสือเอก นอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายวิชาพิเศษ ซึ่งลูกเสืออาจเลือกเรียนเรื่องที่ตนสนใจ เครื่องหมายวิชาพิเศษนี้มากมายหลายอย่างและอาจเพิ่มเติมได้อีกตามความเหมาะสม เช่น เครื่องหมายวิชาพิเศษสำหรับ    ลูกเสือสำรองก็มีวิชาสังเกตและจำ วิชาทำสวน วิชาสะสม วิชาการบันเทิง  วิชาขับขี่จักรยานสองล้อ  วิชาว่ายน้ำ  และวิชาปฐมพยาบาลอย่างง่ายๆ เป็นต้น ส่วนวิชาพิเศษสำหรับลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และลูกเสือวิสามัญ อาจดูได้จากข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509  ซึ่งมีรายละเอียดมากมาย เช่น สำหรับลูกเสือสามัญมีวิชาจักสาน วิชาช่างไม้ วิชาช่างหนัง  ฯลฯ สำหรับลูกเสือรุ่นสามัญ  มีวิชาการผจญภัย วิชาสูทกรรม วิชาธรรมชาติวิทยา  วิชาการบุกเบิก ฯลฯ และสำหรับลูกเสือวิสามัญ มีวิชาการลูกเสือ วิชาจารึก วิชาโครงการ วิชาบริการฯลฯ

7.  กิจกรรมกลางแจ้ง Outdoor activities

บี – พี กล่าวว่า เด็กที่เป็นลูกผู้ชายทุกคนย่อมชอบการผจญภัยและชีวิตกลางแจ้งดังนั้นในการฝึกอบรมลูกเสือทุกประเภทจึงถือว่า กิจกรรมกลางแจ้งเป็นเรื่องสำคัญ และควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้เท่าที่จะสามารถทำได้ ทั้งนี้เป็นการส่งเสริมสุขภาพของลูกเสือด้วย จริงอยู่ในการฝึกอบรมลูกเสือในบางครั้งจะต้องกระทำภายในอาคาร แต่กิจกรรมเช่นเดียวกัน เด็กจะชอบมากกว่าและเป็นประโยชน์แก่เด็กมากกว่า ถ้าได้กระทำกลางแจ้ง เช่น ในสนาม ในทุ่งนา ในป่า หรือสวนสาธารณะ

สิ่งที่ลูกเสือตั้งใจคอย คือ  การอยู่ค่ายพักแรมตามข้อบังคับของคณะลูกเสือแห่งชาติ ข้อ 273 ผู้กำกับกลุ่มหรือผู้กำกับลูกเสือไปฝึกเดินทางไกลและแรมคืนในปีหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ครั้งหนึ่งให้พักแรมอย่างน้อยหนึ่งคืน

การเดินทางไกลและแรมคืนมีควัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้ลูกเสือมีความอดทนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักช่วยตัวเอง รู้จักอยู่และทำร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนมีโอกาสได้เรียนรู้และเข้าใจในวิชาลูกเสืออย่างแจ่มแจ้งด้วยการปฏิบัติจริง

8.  เกม

เกมหรือการเล่นของลูกเสือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการฝึกอบรมลูกเสือทุกประเภท ทั้งในทางจิตใจและในการบริหารร่างกาย เกมช่วยพัฒนาเด็กในเรื่องนิสัยใจคออารมณ์ดี น้ำใจนักกีฬา การรักหมูคณะ  ความอดทน ระเบียบวินัย และความไม่เห็นแก่ตัว

ทุกครั้งที่มีการฝึกอบรมลูกเสือ หรือที่เรียกว่าการประชุมกอง จะต้องมีการจัดการให้เด็กเล่นเกม เพื่อบริหารร่างกาย เป็นการฝึกอบรมเด็กในทางจิตใจไปในตัว

เกมสำหรับลูกเสือมีมากมายหลายอย่าง และเปนหน้าที่ของผู้กำกับจะต้องเลือกเกมที่เหมาะสมแก่วัยของเด็กให้เด็กเล่น ในการนี้ผู้กำกับควรจัดทำและมีสมุดจดการเล่นเกมที่ตนเคยนำไปสอนให้เด็ก  และเห็นว่าได้ประโยชน์ดี เพื่อนำเตรียมไว้ใช้ในโอกาสข้างหน้า

บี – พี. ได้กล่าวไว้ในหนังสือ เรื่อง Aids – to Scouting ว่า วัตถุประสงค์อย่างหนึ่งของการลูกเสือ คือ จัดให้มีการเล่นเกมและกิจกรรมต่างๆ เป็นชุด เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพและช่วยพัฒนานิสัยใจคอของเด็ก เกมเหล่านี้ควรเป็นการเล่นเกมที่สนุกสนานและมีการแข่งขันกันโดยการจัดให้เล่นเกม เราจะสามารถปลูกฝังนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก ปลายประการ คือ ความกล้า Pluck การปฏิบัติตามกติกา – การเล่น obedience to rules วินัย discipline การบังคับใจตนเอง self – control ความกระตือรือร้น keenness ความอดทน fortitude การเป็นผู้นำ leadership และการเล่นเป็นชุดโดยไม่เห็นแก่ตัว  unselfish team play.

9.  การร้องเพลง และการเล่นรอบกองไฟ

วิธีการฝึกอบรมลูกเสือที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การร้องเพลง และการเล่นรอบกองไฟ

การร้องเพลงใช้ในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นการปลุกใจ คลายอารมณ์ หรือก่อให้เกิดความร่าเริงบันเทิงใจ ส่วนการเล่นรอบกองไฟ  กระทำในตอนกลางคืนในระหว่างที่ลูกเสือเดินทางไกลไปอยู่ค่ายพักแรม ทุกครั้งที่มีการเล่นรอบกองไฟ จะต้องมีการร้องเพลงนำ เพลงสลับการแสดงและเพลงส่งท้าย

การร้องเพลงลูกเสือ ส่วนใหญ่เป็นการร้องเพลงหมู่หรือร้องเพลงพร้อมๆ กัน เพื่อเป็นการส่งเสริมความสามัคคี และช่วยเด็กที่ไม่มีนิสัยในการร้องเพลงให้กล้าร้องเพลงยิ่งขึ้น การร้องเพลงเดี่ยว โดยปกติไม่กระทำกันบ่อยนัก นอกจากผู้ร้องจะสามารถร้องเพลงได้เป็นอย่างดี หรือในโอกาสพิเศษ

เพลงที่ลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือทุกคนจะต้องร้องได้คือ เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงสามัคคีชุมนุม

 

 

เพลงลูกเสือที่มีผู้นิยมมากอยู่หลายแห่ง เช่น 

 

เพลงเดี๋ยว – เดียว

เดี๋ยว  เดียว เจอะกันประเดี๋ยวเดียว  สนิทสนิมกลมเกลียม     เดี๋ยวเดียวก็รักกันได้  ( ซ้ำ )

แปลกใจเรารักกันได้อย่างไร  ( ซ้ำ )               เรารักกันได้  เพราะลูกเสืออย่างเดียว

 

เพลง  งานสิ่งใด

งานสิ่งใด  งานสิ่งใด  แม้ใครละเลยทิ้งปล่อย              

มัวแต่คอยเฝ้าแต่คอยหวังคอยแต่เกี่ยงโยนกลอง 

ไม่มีเสร็จ   ไม่มีเสร็จ  รับรอง

จำไว้ทุกคนต้อง  ทำงานเราต้องช่วยกัน                         ช่วยกัน  /  ช่วยกัน  /  ช่วยกัน

 

เพลง  ก่อนจะจากกันไป

ก่อนจะจากกันไป                ขอฝากใจไว้กับทุกๆ ท่าน

ถึงตัวไกลใจนั้น                   ไม่แปรผันและห่างไกล

แม้ว่าเราจากกัน                   ไม่ช้าพลันคงจะพบกันใหม่

ขอโชคดีมีชัย                        หมดทุกข์โรคภัยตลอดกาล

 

                เพลงโบราณที่ลูกเสือทุกคนจะช่วยกันรักษาไว้ไม่ให้สูญเสีย คือบทรักชาติบ้านเมืองซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  องค์พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เพลงบทนี้แม้จะใช้ทำนองไทยเดิม ซึ่งบางคนอาจจะรู้สึกว่าจะยืดยาวไปบ้างแต่เนื้อร้องดีอย่างยิ่งและเป็นการส่งเสริมความ    จงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ ตรงตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ เนื้อร้องและทำนองของเพลงบทรักชาติบ้านเมืองมีดังนี้

( พัดชา )

                                เรานี้เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง                   ควรคำนึงถึงชาติศาสนา

                ไม่ควรให้เสียทีที่เกิดมา                                      ในหมู่ประชาชาวไทย

                แม้ใครตั้งจิตรักตัว                                               จะมัวนอนนิ่งอยู่ไฉน

                ควรจะร้อนอกร้อนใจ                                         เพื่อให้พรั่งพร้อมทั่วตน

                ชาติใดไร้รักสมัครสมาน                                    จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล

                แม้ชาติย่อยยับอับจน                                           บุคคลจะสุขอยู่อย่างไร  ฯ


 

( สร้อยเพลง )

                                                ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง                       คงจะต้องบังคับขับใส

                                เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป                                        ตามนิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย

                                เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ                                     จะนับถือพงศ์พันธุ์นั้นอย่าหมาย

                                ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย   ไหนจะอายทั่วทั้งโลก  ฯ

( ฝรั่งรำเท้า )

                                                เพราะฉะนั้นชวนกันสวามิภักดิ์       จงร่วมรักร่วมชาติศาสนา

                                ยอมตายไม่เสียดายแก่ชีวา                 เพื่อรักษาอิสระคณะไทย

                                สมานสามัคคีให้ดีอยู่                                          จะสู้ศึกศัตรูทั้งหลายได้

                                ควรคิดจำนงจงใจ                                                เป็นไทยจนสิ้นดินฟ้า

 

หลักการสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ  คือ 

                1.  คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ซึ่งแม้แต่ละประเทศจะใช้ถ้อยคำผิดเพี้ยนกันไปบ้าง แต่คงมี         เจตนารมณ์เหมือนกัน คือ เป็นเสมือนศีลของลูกเสือ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือซึ่งทุกคนจะต้องยึดเป็นหลักประจำใจในการดำรงชีวิต และทำให้ลูกเสือถือว่าตนเองเป็นพี่น้องกับลูกเสือทั่วโลก

                2.  การฝึกอบรมลูกเสือจะต้องเป็นไปตามแนวเดียวกันในเรื่องนี้ แต่เดิมมาคณะลูกเสือทั่วโลกได้ใช้แนวของกิลเวลล์ปาร์ค ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือนานาชาติเป็นหลักในการดำเนินงานแต่ต่อมาภายหลังการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 22 ที่ประเทศฟิลแลนด์ เมื่อปี ค.ศ.  1969 ( พ.ศ. 2512 ) ที่ประชุมได้ตกลงให้อนุกรรมการฝ่ายฝึกอบรมของคณะลูกเสือโลก  วางหลักสูตรการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือขึ้นใหม่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากวิธีการของกิลเวลล์ปาร์คไปบ้าง ขณะนี้  แนวการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ จึงอยู่ในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง แต่ในหลักการสำคัญ การฝึกอบรมแบบกิลเวลล์ปาร์ค ก็ยังอาจนำมาใช้ได้โดยอนุโลม

5.  หลักปฏิบัติของลูกเสือเกี่ยวกับการเมืองข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับกรรมกร และศาสนา

 

                มีเรื่องสำคัญอีก 3 เรื่องที่นำมากล่าวไว้ในบทนี้คือ  หลักปฏิบัติของลูกเสือเกี่ยวกับ ( ก ) การเมือง ( ข ) ข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับกรรมกร ( ค. )  ศาสนา

 

                ( ก )  การเมือง

                หลักสำคัญของการลูกเสือประการหนึ่ง  ที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญของสมัชชาลูกเสือโลก  คือ ความเป็นอิสระต่อบรรดาอิทธิพลทางการเมือง

                มาตรา  7 แห่งพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507 บัญญัติว่า คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์ เพื่อฝึกอบรมบ่มนิสัยลูกเสือให้เป็นพลเมืองดี ตามจารีตประเพณีบ้านเมืองและอุดมคติ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องับลัทธิการเมืองใด ๆ

 

ข้อบังคับของคณะลูกเสือแห่งชาติ  มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเมือง  ดังนี้

                ข้อ 16  คณะลูกเสือแห่งชาติไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิการเมืองใดๆ สมาชิกของคณะลูกเสือแห่งชาติในเครื่องแบบ หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในนามคณะลูกเสือแห่งชาติ กลุ่ม หรือกองลูกเสือใดต้องไม่เข้าร่วมในการประชุมทางการเมืองหรือปฏิบัติกิจกรรมทางการเมือง

                ข้อ  17  คณะลูกเสือแห่งชาติไม่เป็นกระบวนการทางการเมือง ต้องไม่ให้การสนับสนุนแก่ฝ่าย     หนึ่งฝ่ายใด          

                มาตรา  10  แห่งพระราชบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ.  2507 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นสภานายก สภาลูกเสือแห่งชาติ สภาลูกเสือแห่งชาติ รองนาย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


narissan

สถานะ : ผู้ช่วยผู้ดูแลระบบ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี