UNIT 4 ทรัพย์ในดิน สินในเมือง
![]() |
ชุดดินโคราช (Korat series: Kt)
|
||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มชุดดินที่ 35 การจำแนกดิน Fine-loamy, siliceous, isohyperthermic Typic (Oxyaquic) Kandiustults การกำเนิด เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิว แผ่นดิน สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 2-5 % การระบายน้ำ ดีปานกลาง การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเต็งรังหรือป่าเบญจพรรณ พืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย และถั่วต่างๆ การแพร่กระจาย พบทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดเรียงชั้น A-Bt ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาล ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ส่วนใหญ่มีอนุภาคดินเหนียวไม่เกิน 35 % สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง อาจพบสีเทาปนน้ำตาล สีเทาหรือสีเทาปนชมพูในดินล่างลึกลงไป พบจุดประสี น้ำตาลแก่หรือสีเหลืองปนแดง ภายในความลึกมากกว่า 100 ซม. จากผิวดิน อาจพบก้อนเหล็กสะสมในดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ในดินบนและเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง |
||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินสตึก ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสำหรับพืชในฤดูเพาะปลูกและเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปเหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกพืชไร่ แต่ควรมีวิธีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ป้องกันการขาดน้ำและการชะล้างพังทลาย การเลือกระยะเวลาปลูกพืชที่เหมาะสม การไถพรวนแต่น้อยและการปลูกพืชแบบสลับ (intercropping) เป็นตัวอย่างที่ควรจะกระทำ การจัดหาแหล่งน้ำโดยการขุดสระ ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่างๆ ให้แก่ดินและปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น |
![]() |
ชุดดินพิมาย (Phimai series: Pm)
|
||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มชุดดินที่ 4 การจำแนกดิน Very fine, smectitic, isohyperthermic Ustic Endoaquerts การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบน้ำท่วมถึง สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชันน้อยกว่า 1 % การระบายน้ำ เลว การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ทำนา การแพร่กระจาย ที่ราบลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคกลาง การจัดเรียงชั้น Apg-Bssg ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด หน้าดินมีสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล ปนเทาเข้ม ดินล่างมีสีเทาหรือสีเทาอ่อน มักพบจุดประสีน้ำตาลแก่ สีน้ำตาลปนเหลือง น้ำตาลปนแดงหรือแดงปนเหลืองตลอดหน้าตัดดิน ฤดูแล้งหน้าดินจะแตกระแหงกว้างและลึกพบรอยไถลชัดเจนและอาจพบก้อนเหล็กหรือแมงกานีสสะสมปะปนอยู่ในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ตลอด |
||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินสิงห์บุรี และชุดดินศรีสงคราม ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินเหนียวจัด สมบัติทางกายภาพของดินไม่ดี มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ควรไถพรวนในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสม ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยเคมี เพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดินให้ดีขึ้น ถ้ามีโครงการชลประทานที่สมบูรณ์แบบ จะเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
![]() |
ชุดดินทุ่งสัมฤทธิ์ (Thung Samrit series: Tsr)
|
||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มชุดดินที่ 20 การจำแนกดิน Very fine, smectitic isohyperthermic Typic Natraquerts การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบน้ำท่วมถึง สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 % การระบายน้ำ เลว การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ทำนา การแพร่กระจาย ที่ราบลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดเรียงชั้น Apg-Bssgn ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด หน้าดินมีสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล ปนเทาเข้ม ดินล่างมีสีเทาหรือสีเทาอ่อน มักพบจุดประสีน้ำตาลแก่ สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลปนแดงตลอดหน้าตัดดิน ฤดูแล้งหน้าดินจะแตกระแหงกว้างและลึก บางบริเวณมีคราบเกลือบริเวณผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกกลาง (pH 5.5-7.0) ในดินบนและเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.0-8.0) ในดินล่าง |
||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินพิมาย ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินเค็มด่าง ดินเหนียวจัด หน้าแล้งดินแน่นทึบ แตกกว้างและลึก ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุและใส่ยิปซัม ปลูกพืชทนเค็ม และไถพรวนในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสม |
![]() |
ชุดดินจักราช (Chakkarat Series: Ckr)
|
||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มชุดดินที่ 40 การจำแนกดิน Coarse-loamy, mixed subactive isohyperthermic Oxyaquic Paleustults การกำเนิดดิน เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิว แผ่นดิน สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 0-5 % การระบายน้ำ ดีปานกลาง การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเต็งรัง ปลูกปอ ฝ้าย แตงโม และมันสำปะหลัง การแพร่กระจาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดเรียงชั้น A-(E)-Bt ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน มีสีน้ำตาล ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายในตอนบนและอาจพบดินร่วนเหนียวปนทรายในตอนล่าง มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง จะพบจุดประสีน้ำตาลแก่หรือแดงปนเหลืองตลอดหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ในดินบนและเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง |
||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินห้วยแถลง ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสำหรับพืชในฤดูเพาะปลูกและเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปเหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกพืชไร่ แต่ควรมีวิธีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ป้องกันการขาดน้ำและการชะล้างพังทลาย การเลือกระยะเวลาปลูกพืชที่เหมาะสม การไถพรวนแต่น้อยและการปลูกพืชแบบสลับ (intercropping) เป็นตัวอย่างที่ควรจะกระทำ การจัดหาแหล่งน้ำโดยการ ขุดสระ ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่างๆ ให้แก่ดินและเพิ่มสมบัติทางกายภาพของดิน |