ภาพพิมพ์สื่อผสม

ภาพพิมพ์ โดยความหมายของคำย่อมเป็นที่เข้าใจชัดเจนแล้วว่า หมายถึงรูปภาพที่สร้างขึ้นมาโดยวิธีีการพิมพ์ แต่่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่เมื่อพูดถึง ภาพพิมพ์อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักว่าภาพพิมพ์คืออะไรกันแน่ เพราะคำๆนี้เป็นคำใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้กันมาประมาณเมื่อ 30 ปี มานี้เอง

          โดยความหมายของคำเพียงอย่างเดียว อาจจะชวนให้เข้าใจสับสนไปถึงรูปภาพที่พิมพ์ด้วยกรรมวิธีการพิมพ์ทางอุตสาหกรรม เช่น โปสเตอร์ ภาพพิมพ์ที่จำลองจากภาพถ่าย หรือภาพจำลองจิตรกรรม อันที่จริงคำว่า ภาพพิมพ์ เป็นศัพท์เฉพาะทางศิลปะที่หมายถึง ผลงานวิจิตรศิลป์ที่จัดอยู่ในประเภท ทัศนศิลป์ เช่นเดียวกันกับจิตรกรรมและประติมากรรม

          ภาพพิมพ์ทั่วไปมีลักษณะเช่นเดียวกับจิตรกรรมและภาพถ่าย คือตัวอย่างผลงานมีเพียง 2 มิติ ส่วนมิติที่ 3 คือ ความลึกที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ ภาษาเฉพาะของทัศนศิลป์ อันได้แก่ เส้น สี น้ำหนัก และพื้นผิว สร้างให้ดูลวงตาลึกเข้าไปในระนาบ 2 มิติของผิวภาพ แต่ภาพพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่ี่แตกต่างจากจิตรกรรมตรงกรรมวิธีการสร้างผลงานที่จิตรกรรมนั้น ศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์ขีดเขียน หรือวาดภาพระบาย สีลงไปบนผืนผ้าใบ กระดาษ หรือสร้างออกมาเป็นภาพโดยทันที แต่การสร้างผลงานภาพพิมพ์ศิลปินต้องสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมาเป็นสื่อก่อน แล้วจึงผ่านกระบวนการพิมพ์ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพที่ต้องการได้

          จากกรรมวิธีในการสร้างผลงานด้วยการพิมพ์นี้เอง ที่ทำให้ศิลปินสามารถสร้างผลงาน ต้นแบบ ( Original) ที่ี่เหมือนๆกันได้หลายชิ้น เช่นเดียวกับผลงานประติมากรรม ประเภทที่ปั้นด้วยดินแล้วทำแม่พิมพ์หล่อผลงานชิ้นนั้นให้เป็นวัสดุถาวร เช่นทองเหลือง หรือสำริด ทุกชิ้นที่หล่อออกมาถือว่าเป็นผลงาน ต้นแบบ มิใช่ผลงานจำลอง ( Reproduction) ทั้งนี้เพราะว่าภาพพิมพ์นั้นก็มิใช่ผลงานจำลองจากต้นแบบที่เป็นจิตรกรรมหรือวาดเส้น แต่ภาพพิมพ์เป็นผลงานสร้างสรรค์ ที่ศิลปินมีทั้งเจตนาและความเชี่ยวชาญในการใช้คุณลักษณะพิเศษเฉพาะของเทคนิควิธีการทางภาพพิมพ์ แต่ละชนิดมาใช้ในการถ่ายทอดจินตนาการ ความคิด และอารมณ์ ความรู้สึกออกมาในผลงานได้โดยตรง แตกต่างกับการที่นำเอาผลงานจิตรกรรมที่สร้างสำเร็จไว้แล้วมาจำลองเป็นภาพโดยผ่านกระบวนการทางการพิมพ์

          ในการพิมพ์ผลงานแต่ละชิ้น ศิลปินจะจำกัดจำนวนพิมพ์ตามหลักเกณฑ์สากล ที่ศิลปสมาคมระหว่างชาติ ซึ่งไทยก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ได้กำหนดไว้โดยศิลปินผู้สร้างผลงานจะเขียนกำกับไว้ที่ด้านซ้ายของภาพ เช่น 3/30 เลข 3 ตัวหน้าหมายถึงภาพที่ 3 ส่วนเลข 30 ตัวหลังหมายถึงจำนวนที่ พิมพ์ทั้งหมด ในภาพพิมพ์บางชิ้นศิลปินอาจเซ็นคำว่า A/P ไว้แทนตัวเลขจำนวนพิมพ์ A/P นี้ย่อมาจากArtist's Proof ซึ่งหมายความว่า ภาพๆนี้เป็นภาพที่พิมพ์ขึ้นมาหลังจากที่ศิลปินได้มีการทดลองแก้ไขจนได้คุณภาพสมบูรณ์ตามที่ต้องการ จึงเซ็นรับรองไว้หลังจากพิมพ์ A/P ครบตามจำนวน 10% ของจำนวนพิมพ์ทั้งหมด จึงจะเริ่มพิมพ์ให้ครบตามจำนวนเต็มที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นศิลปินจะทำลายแม่พิมพ์ด้วยการขูดขีด หรือวิธีการอื่นๆ และพิมพ์ภาพสุดท้ายนี้ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน เรียกว่า Cancellation Proof สุดท้ายศิลปินจะเซ็นทั้งหมายเลขจำนวนพิมพ์ วันเดือนปี และลายเซ็นของศิลปินเอง ไว้ด้านล่างขวาของภาพ เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพด้วยทุกชิ้น จำนวนพิมพ์นี้อาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความนิยมของ “ ตลาด ” และปัจจัยอื่นๆอีกหลายประการ

         สำหรับศิลปินไทยส่วนใหญ่จะจำกัดจำนวนพิมพ์ไว้ค่อนข้างต่ำประมาณ 5-10 ภาพ ต่อ ผลงาน 1 ชิ้น กฏเกณฑ์ที่ศิลปินทั่วโลกถือปฏิบัติกันเป็นหลักสากลนี้ย่อมเป็นการรักษามาตรฐานของภาพพิมพ์  ไว้ อันเป็นการส่งเสริมภาพพิมพ์ให้้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

กระบวนการหลัก 4 ประการ ของวิธีการทำภาพพิมพ์

1. แม่พิมพ์ผิวนูน ( Relief Process)


เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่สร้างแม่พิมพ์โดยการแกะให้เป็นร่องลึกเข้าไป และใช้ผิวบนของส่วนนูนเป็นที่สร้างให้เกิดรูป ในการพิมพ์ต้องใช้ลูกกลิ้ง ที่กลิ้งหมึกแล้วมากลิ้งผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จากลูกกลิ้งจะติดเฉพาะผิวบนของส่วนนูนเท่านั้น ส่วนที่ลึกลงไปจะไม่ติดหมึก แล้วใช้กระดาษทาบปิดลงไปบนแม่พิมพ์ และกดอัดด้วยเครื่องมือ หรือแท่นพิมพ์ หมึกก็ติดกระดาษเกิดเป็นรูปขึ้นมา เทคนิคที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ เช่น Wood Engraving, Wood-Cut, Lion-Cut เป็นต้น

2. แม่พิมพ์ร่องลึก ( Intaglio Process)


เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ใช้หลักการตรงกันข้ามกับ Relief Process คือแม่พิมพ์มี ความนูนและร่องลึกเช่นเดียวกัน แต่ส่วนที่สร้างให้เกิดเป็นรูป คือส่วนที่เป็นร่องลึกของแม่พิมพ์ ในการพิมพ์ต้องอุดหมึกลงไปในร่องลึก และเช็ดผิวบนให้สะอาด แล้วจึงเอากระดาษปิดทับบนแม่พิมพ์ การพิมพ์ต้องอาศัยแท่นพิมพ์ที่มีแรงกดสูงเพื่อเอากระดาษให้ไปดูดซับหมึกขึ้นมาได้ เทคนิคที่รวมกันอยู่ภายใต้กระบวนการนี้เช่น Etching, Aquatint, Dry point, Messotint เป็นต้น

3. แม่พิมพ์ผิวราบ ( Planographic Process )


       เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ตัวแม่พิมพ์มีผิวเรียบแบน แต่หลักของการพิมพ์อาศัยกฏเกณฑ์แห่ง ความไม่เข้ากันระหว่าง น้ำกับน้ำมัน แม่พิมพ์จะเป็นหินที่มีเนื้อละเอียดมาก และมีผิวแบนเรียบ รูปที่ต้อง การจะเกิดจากการขีด เขียนหรือวาดระบายด้วยไข ในการพิมพ์ก่อนที่จะกลิ้งหมึกพิมพ์จะต้องใช้น้ำหล่อ เลี้ยงผิวของแม่พิมพ์ให้ชุ่มชื้น เมื่อกลิ้งหมึกพิมพ์ซึ่งเป็นไขผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์ที่เป็นไขจะติด บนรูปที่วาดด้วยไขเท่านั้น  หมึกพิมพ์จะไม่ติดบนผิวหินส่วนที่มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่  แล้วจึงนำเอากระดาษ มาปิดทับบนแม่พิมพ์รีดกดให้หมึกติดกระดาษ เกิดเป็นรูปภาพที่ต้องการได้

4. แม่พิมพ์ตะแกรงไหม ( Serigraphy) Silk-screen 

      เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ ที่พัฒนามาจากวิธีการ Stencil ซึ่งเป็นวิธีสร้างรูปซ้ำๆ เหมือนๆ กันได้หลายรูป โดยการเจาะกระดาษ หรือวัสดุอื่นให้เป็นรูปแล้วพ่น หรืออาบสีให้ผ่านช่องว่างลงไปติดเป็นรูปที่ต้องการ  สำหรับ Silk-screen แม่พิมพ์จะเป็นตะแกรงที่ละเอียดมาก ตะแกรงนี้จะช่วยยึดทั้งส่วนที่เป็นช่องว่างและส่วนที่ทึบตันให้ติดเป็นแผ่นระนาบเดียวกัน วิธีการนี้ช่วยให้การสร้างแม่พิมพ์มีความละเอียด ประณีต และเมื่อพิมพ์ออกมารูปจะมีความคมชัดกว่า รวมทั้งพิมพ์ซ้ำๆได้ปริมาณมากกว่า ในการพิมพ์จะใช้ยางที่มีหน้าตัดเรียบคม ปาดหมึกผ่านช่องว่างให้ลงไปติดบนแผ่นกระดาษ  เกิดเป็นรูปที่ต้องการได้ 

ภาพพิมพ์ โดยความหมายของคำย่อมเป็นที่เข้าใจชัดเจนแล้วว่า หมายถึงรูปภาพที่สร้างขึ้นมาโดยวิธีีการพิมพ์ แต่่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่เมื่อพูดถึง ภาพพิมพ์อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักว่าภาพพิมพ์คืออะไรกันแน่ เพราะคำๆนี้เป็นคำใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้กันมาประมาณเมื่อ 30 ปี มานี้เอง

          โดยความหมายของคำเพียงอย่างเดียว อาจจะชวนให้เข้าใจสับสนไปถึงรูปภาพที่พิมพ์ด้วยกรรมวิธีการพิมพ์ทางอุตสาหกรรม เช่น โปสเตอร์ ภาพพิมพ์ที่จำลองจากภาพถ่าย หรือภาพจำลองจิตรกรรม อันที่จริงคำว่า ภาพพิมพ์ เป็นศัพท์เฉพาะทางศิลปะที่หมายถึง ผลงานวิจิตรศิลป์ที่จัดอยู่ในประเภท ทัศนศิลป์ เช่นเดียวกันกับจิตรกรรมและประติมากรรม

          ภาพพิมพ์ทั่วไปมีลักษณะเช่นเดียวกับจิตรกรรมและภาพถ่าย คือตัวอย่างผลงานมีเพียง 2 มิติ ส่วนมิติที่ 3 คือ ความลึกที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ ภาษาเฉพาะของทัศนศิลป์ อันได้แก่ เส้น สี น้ำหนัก และพื้นผิว สร้างให้ดูลวงตาลึกเข้าไปในระนาบ 2 มิติของผิวภาพ แต่ภาพพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่ี่แตกต่างจากจิตรกรรมตรงกรรมวิธีการสร้างผลงานที่จิตรกรรมนั้น ศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์ขีดเขียน หรือวาดภาพระบาย สีลงไปบนผืนผ้าใบ กระดาษ หรือสร้างออกมาเป็นภาพโดยทันที แต่การสร้างผลงานภาพพิมพ์ศิลปินต้องสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมาเป็นสื่อก่อน แล้วจึงผ่านกระบวนการพิมพ์ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพที่ต้องการได้

          จากกรรมวิธีในการสร้างผลงานด้วยการพิมพ์นี้เอง ที่ทำให้ศิลปินสามารถสร้างผลงาน ต้นแบบ ( Original) ที่ี่เหมือนๆกันได้หลายชิ้น เช่นเดียวกับผลงานประติมากรรม ประเภทที่ปั้นด้วยดินแล้วทำแม่พิมพ์หล่อผลงานชิ้นนั้นให้เป็นวัสดุถาวร เช่นทองเหลือง หรือสำริด ทุกชิ้นที่หล่อออกมาถือว่าเป็นผลงาน ต้นแบบ มิใช่ผลงานจำลอง ( Reproduction) ทั้งนี้เพราะว่าภาพพิมพ์นั้นก็มิใช่ผลงานจำลองจากต้นแบบที่เป็นจิตรกรรมหรือวาดเส้น แต่ภาพพิมพ์เป็นผลงานสร้างสรรค์ ที่ศิลปินมีทั้งเจตนาและความเชี่ยวชาญในการใช้คุณลักษณะพิเศษเฉพาะของเทคนิควิธีการทางภาพพิมพ์ แต่ละชนิดมาใช้ในการถ่ายทอดจินตนาการ ความคิด และอารมณ์ ความรู้สึกออกมาในผลงานได้โดยตรง แตกต่างกับการที่นำเอาผลงานจิตรกรรมที่สร้างสำเร็จไว้แล้วมาจำลองเป็นภาพโดยผ่านกระบวนการทางการพิมพ์

          ในการพิมพ์ผลงานแต่ละชิ้น ศิลปินจะจำกัดจำนวนพิมพ์ตามหลักเกณฑ์สากล ที่ศิลปสมาคมระหว่างชาติ ซึ่งไทยก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ได้กำหนดไว้โดยศิลปินผู้สร้างผลงานจะเขียนกำกับไว้ที่ด้านซ้ายของภาพ เช่น 3/30 เลข 3 ตัวหน้าหมายถึงภาพที่ 3 ส่วนเลข 30 ตัวหลังหมายถึงจำนวนที่ พิมพ์ทั้งหมด ในภาพพิมพ์บางชิ้นศิลปินอาจเซ็นคำว่า A/P ไว้แทนตัวเลขจำนวนพิมพ์ A/P นี้ย่อมาจากArtist's Proof ซึ่งหมายความว่า ภาพๆนี้เป็นภาพที่พิมพ์ขึ้นมาหลังจากที่ศิลปินได้มีการทดลองแก้ไขจนได้คุณภาพสมบูรณ์ตามที่ต้องการ จึงเซ็นรับรองไว้หลังจากพิมพ์ A/P ครบตามจำนวน 10% ของจำนวนพิมพ์ทั้งหมด จึงจะเริ่มพิมพ์ให้ครบตามจำนวนเต็มที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นศิลปินจะทำลายแม่พิมพ์ด้วยการขูดขีด หรือวิธีการอื่นๆ และพิมพ์ภาพสุดท้ายนี้ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน เรียกว่า Cancellation Proof สุดท้ายศิลปินจะเซ็นทั้งหมายเลขจำนวนพิมพ์ วันเดือนปี และลายเซ็นของศิลปินเอง ไว้ด้านล่างขวาของภาพ เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพด้วยทุกชิ้น จำนวนพิมพ์นี้อาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความนิยมของ “ ตลาด ” และปัจจัยอื่นๆอีกหลายประการ

         สำหรับศิลปินไทยส่วนใหญ่จะจำกัดจำนวนพิมพ์ไว้ค่อนข้างต่ำประมาณ 5-10 ภาพ ต่อ ผลงาน 1 ชิ้น กฏเกณฑ์ที่ศิลปินทั่วโลกถือปฏิบัติกันเป็นหลักสากลนี้ย่อมเป็นการรักษามาตรฐานของภาพพิมพ์  ไว้ อันเป็นการส่งเสริมภาพพิมพ์ให้้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

กระบวนการหลัก 4 ประการ ของวิธีการทำภาพพิมพ์

1. แม่พิมพ์ผิวนูน ( Relief Process)


เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่สร้างแม่พิมพ์โดยการแกะให้เป็นร่องลึกเข้าไป และใช้ผิวบนของส่วนนูนเป็นที่สร้างให้เกิดรูป ในการพิมพ์ต้องใช้ลูกกลิ้ง ที่กลิ้งหมึกแล้วมากลิ้งผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จากลูกกลิ้งจะติดเฉพาะผิวบนของส่วนนูนเท่านั้น ส่วนที่ลึกลงไปจะไม่ติดหมึก แล้วใช้กระดาษทาบปิดลงไปบนแม่พิมพ์ และกดอัดด้วยเครื่องมือ หรือแท่นพิมพ์ หมึกก็ติดกระดาษเกิดเป็นรูปขึ้นมา เทคนิคที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ เช่น Wood Engraving, Wood-Cut, Lion-Cut เป็นต้น

2. แม่พิมพ์ร่องลึก ( Intaglio Process)


เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ใช้หลักการตรงกันข้ามกับ Relief Process คือแม่พิมพ์มี ความนูนและร่องลึกเช่นเดียวกัน แต่ส่วนที่สร้างให้เกิดเป็นรูป คือส่วนที่เป็นร่องลึกของแม่พิมพ์ ในการพิมพ์ต้องอุดหมึกลงไปในร่องลึก และเช็ดผิวบนให้สะอาด แล้วจึงเอากระดาษปิดทับบนแม่พิมพ์ การพิมพ์ต้องอาศัยแท่นพิมพ์ที่มีแรงกดสูงเพื่อเอากระดาษให้ไปดูดซับหมึกขึ้นมาได้ เทคนิคที่รวมกันอยู่ภายใต้กระบวนการนี้เช่น Etching, Aquatint, Dry point, Messotint เป็นต้น

3. แม่พิมพ์ผิวราบ ( Planographic Process )


       เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ตัวแม่พิมพ์มีผิวเรียบแบน แต่หลักของการพิมพ์อาศัยกฏเกณฑ์แห่ง ความไม่เข้ากันระหว่าง น้ำกับน้ำมัน แม่พิมพ์จะเป็นหินที่มีเนื้อละเอียดมาก และมีผิวแบนเรียบ รูปที่ต้อง การจะเกิดจากการขีด เขียนหรือวาดระบายด้วยไข ในการพิมพ์ก่อนที่จะกลิ้งหมึกพิมพ์จะต้องใช้น้ำหล่อ เลี้ยงผิวของแม่พิมพ์ให้ชุ่มชื้น เมื่อกลิ้งหมึกพิมพ์ซึ่งเป็นไขผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์ที่เป็นไขจะติด บนรูปที่วาดด้วยไขเท่านั้น  หมึกพิมพ์จะไม่ติดบนผิวหินส่วนที่มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่  แล้วจึงนำเอากระดาษ มาปิดทับบนแม่พิมพ์รีดกดให้หมึกติดกระดาษ เกิดเป็นรูปภาพที่ต้องการได้

4. แม่พิมพ์ตะแกรงไหม ( Serigraphy) Silk-screen 

      เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ ที่พัฒนามาจากวิธีการ Stencil ซึ่งเป็นวิธีสร้างรูปซ้ำๆ เหมือนๆ กันได้หลายรูป โดยการเจาะกระดาษ หรือวัสดุอื่นให้เป็นรูปแล้วพ่น หรืออาบสีให้ผ่านช่องว่างลงไปติดเป็นรูปที่ต้องการ  สำหรับ Silk-screen แม่พิมพ์จะเป็นตะแกรงที่ละเอียดมาก ตะแกรงนี้จะช่วยยึดทั้งส่วนที่เป็นช่องว่างและส่วนที่ทึบตันให้ติดเป็นแผ่นระนาบเดียวกัน วิธีการนี้ช่วยให้การสร้างแม่พิมพ์มีความละเอียด ประณีต และเมื่อพิมพ์ออกมารูปจะมีความคมชัดกว่า รวมทั้งพิมพ์ซ้ำๆได้ปริมาณมากกว่า ในการพิมพ์จะใช้ยางที่มีหน้าตัดเรียบคม ปาดหมึกผ่านช่องว่างให้ลงไปติดบนแผ่นกระดาษ  เกิดเป็นรูปที่ต้องการได้ 

ตัวอย่างภาพพิมพ์