คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาภาษาไทย

ท ๓๒๑๐๑  ภาษาไทยพื้นฐาน      กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

เวลา  ๔๐  ชั่วโมง                                                                               จำนวน  ๑  หน่วยกิต  ภาคเรียนที่  ๑

คำอธิบายรายวิชา

การฝึกทักษะการอ่าน   การเขียน การฟัง การดู การพูด การวิเคราะห์ วิจารณ์  โดยศึกษาเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรอง การอ่านวรรณคดีวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ การอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การเขียนเรียงความ การเขียนย่อความ การเขียนเชิงวิชาการ  และการประเมินค่างานเขียน การเลือกเรื่องที่ฟังและพูดอย่างมีวิจารณญาณ และการพูดโน้มน้าวใจ  การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของภาษา การใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยค การเปรียบเทียบความคิดกับภาษา วัฒนธรรมกับภาษา และการแต่งร้อยกรองประเภทร่าย  การวิเคราะห์ วิจารณ์  ประเมินค่า และการสังเคราะห์ข้อคิดจากบทร้องกรอง วรรณคดีและวรรณกรรม การเรียนรู้ประวัติวรรณคดีและวรรณกรรมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง การท่องบทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

โดยใช้กระบวนการ การอ่าน การเขียน  การฟัง การดู  การพูดอย่างสร้างสรรค์  และกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการสืบค้นข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์และจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ   ทักษะการตอบคำถามจาการอ่านประเภทต่าง ๆ  วิเคราะห์แนวคิด การใช้ภาษาและความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดู เชื่อมโยงการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง

เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และสามารถแสดงความคิดเห็นวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่า สังเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ดำรงรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ และสร้างนิสัยรักการอ่าน การเขียน ตระหนักถึงมารยาทที่ดีในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด

รหัสตัวชี้วัด      

ท๑.๑    ม.๔-๖/๑, ม.๔-๖/๒ , ม.๔-๖/๓ , ม.๔-๖/๕ ,  ม.๔-๖/๖ , ม.๔-๖/๗, ม.๔-๖/๘ , ม.๔-๖/๙

ท๒.๑    ม.๔-๖/๑, ม.๔-๖/๒ , ม.๔-๖/๓ , ม.๔-๖/๖ , ม.๔-๖/๘

ท๓.๑    ม.๔-๖/๑, ม.๔-๖/๔ ,  ม.๔-๖/๖

ท๔.๑    ม.๔-๖/๑ม.๔-๖/๒ , ม.๔-๖/๔ ,  ม.๔-๖/๖

ท๕.๑    ม.๔-๖/๒ , ม.๔-๖/๓ ,  ม.๔-๖/๔ , ม.๔-๖/๖

รวม  ๒๔  ตัวชี้วัด  จาก  ๓๖  ตัวชี้วัด  (ม.๔ – ๖ )

 

 

 

รายวิชาภาษาไทย

ท ๓๒๑๐๒  ภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

เวลา  ๔๐  ชั่วโมง                                                                             จำนวน  ๑  หน่วยกิต  ภาคเรียนที่  ๒

คำอธิบายรายวิชา

การฝึกทักษะการอ่าน   การเขียน การฟัง การดู การพูด การวิเคราะห์ วิจารณ์  โดยศึกษาเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรอง การอ่านวรรณคดีวรรณกรรมประเภทต่างๆ การอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การเขียนเรียงความ การเขียนย่อความ การเขียนเชิงกิจธุระ  และการประเมินค่างานเขียน การเลือกเรื่องที่ฟังและพูดอย่างมีวิจารณญาณ และการพูดโน้มน้าวใจ  การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของภาษา การเรียงร้อยประโยค การพูดต่อประชุมชน วิธีการสื่อสารในการประชุม และการแต่งร้อยกรองประเภทร่าย    การวิเคราะห์ วิจารณ์  ประเมินค่า และการสังเคราะห์ข้อคิดจากบทร้องกรอง วรรณคดีและวรรณกรรม การเรียนรู้ประวัติวรรณคดีและวรรณกรรมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และกรุงธนบุรี การท่องบทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

โดยใช้กระบวนการ การอ่าน การเขียน  การฟัง การดู  การพูดอย่างสร้างสรรค์  และกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการสืบค้นข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์และจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ   ทักษะการตอบคำถามจาการอ่านประเภทต่าง ๆ  วิเคราะห์แนวคิด การใช้ภาษาและความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดู เชื่อมโยงการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และกรุงธนบุรี

เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และสามารถแสดงความคิดเห็นวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่า สังเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ดำรงรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ และสร้างนิสัยรักการอ่าน การเขียน ตระหนักถึงมารยาทที่ดีในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด

รหัสตัวชี้วัด      

ท๑.๑    ม.๔-๖/๑, ม.๔-๖/๒ , ม.๔-๖/๓ ,ม.๔-๖/๔,  ม.๔-๖/๕ ,  ม.๔-๖/๖ , ม.๔-๖/๗, ม.๔-๖/๘ , ม.๔-๖/๙

ท๒.๑    ม.๔-๖/๑, ม.๔-๖/๒ , ม.๔-๖/๓, ม.๔-๖/๘

ท๓.๑    ม.๔-๖/๑, ม.๔-๖/๓ ,  ม.๔-๖/๔ , ม.๔-๖/๕ ,  ม.๔-๖/๖

ท๔.๑    ม.๔-๖/๔ ,  ม.๔-๖/๕

ท๕.๑    ม.๔-๖/๒ , ม.๔-๖/๓ ,  ม.๔-๖/๔ , ม.๔-๖/๕ ,  ม.๔-๖/๖

 

รวม  ๒๕  ตัวชี้วัด  จาก  ๓๖  ตัวชี้วัด  (ม.๔ – ๖ )