ผลการเรียนรู้

สาระที่  1     จำนวนและการดำเนินการ

1.      เมื่อกำหนดจำนวนนับให้สามารถบอกค่าประจำหลัก  ค่าของตัวเลขในแต่ละหลักและเขียนในรูปกระจายได้

2.      เมื่อกำหนดจำนวนนับให้สามารถเรียงลำดับจำนวนได้

3.      เมื่อกำหนดจำนวนนับให้สามารถหาค่าประมาณใกล้เคียงเป็นจำนวนเต็มสิบ  ร้อย พัน หมื่น แสน  และล้านได้

4.      เมื่อกำหนดโจทย์การบวก  การลบ  การคูณ  และการหารให้   สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

5.      เมื่อกำหนดโจทย์การบวก  ลบ  คูณ   หารระคนให้  สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

6.      เมื่อกำหนดโจทย์ให้  สามารถใช้สมบัติการสลับที่  สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม  และสมบัติการแจกแจงเพื่อช่วยในการคิดคำนวณได้

7.      เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการบวก  การลบ  การคูณ  และการหารให้  สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำ   พร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

8.      เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการบวก  ลบ  คูณ  หารระคนให้  สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำ   พร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

9.      เมื่อกำหนดสถานการณ์ให้  สามารถสร้างโจทย์และโจทย์ปัญหา  พร้อมทั้งหาคำตอบ และแสดงวิธีทำได้

10.  เมื่อกำหนดจำนวนนับให้สามารถหาตัวประกอบทั้งหมดได้

11.  เมื่อกำหนดจำนวนนับให้สามารถบอกได้ว่าจำนวนใดเป็นจำนวนเฉพาะพร้อมทั้งบอกเหตุผลได้

12.  เมื่อกำหนดจำนวนนับให้สามารถแยกตัวประกอบได้

13.  เมื่อกำหนดจำนวนนับไม่เกินสี่จำนวนให้  สามารถหา  ห.ร.ม. ของจำนวนนับได้

14.  เมื่อกำหนดจำนวนนับไม่เกินสี่จำนวนให้   สามารถหา  ค.ร.น.. ของจำนวนนับได้

15.  เมื่อกำหนดเศษส่วนให้  สามารถเขียนเศษส่วนที่เท่ากับเศษส่วนนั้นได้

16.  เมื่อกำหนดเศษส่วนให้  สามารถเปรียบเทียบและเรียงลำดับเศษส่วนได้

17.  เมื่อกำหนดโจทย์การบวกเศษส่วนให้   สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

18.  เมื่อกำหนดโจทย์การลบเศษส่วนให้  สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ  ที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

19.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วนให้   สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ 

 20.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการลบเศษส่วนให้     สามารถวิเคราะห์โจทย์หาคำตอบ และแสดงวิธีทำ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

21.  เมื่อกำหนดโจทย์การคูณเศษส่วนให้   สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

22.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการคูณเศษส่วนให้ สามารถวิเคราะห์โจทย์หาคำตอบ และแสดงวิธีทำ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

23.  เมื่อกำหนดโจทย์การหารเศษส่วนให้   สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

24.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการหารเศษส่วนให้    สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ 

25.  เมื่อกำหนดโจทย์การบวก  ลบ  คูณ  หารเศษส่วนระคนให้   สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

26.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการบวก  ลบ  คูณ  หารเศษส่วนระคนให้    สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ 

27.  เมื่อกำหนดทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้  สามารถอ่านและเขียนทศนิยมได้

28.  เมื่อกำหนดทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้  สามารถบอกค่าประจำหลักและค่าของตัวเลขในหลักต่างๆได้

29.  เมื่อกำหนดทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้   สามารถเขียนในรูปกระจายได้

30.  เมื่อกำหนดทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้   สามารถเปรียบเทียบและเรียงลำดับทศนิยมได้

31.  เมื่อกำหนดทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้  สามารถเขียนในรูปเศษส่วนได้  และเมื่อกำหนดเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น  10,  100  หรือ  1,000  ให้  สามารถเขียนในรูปทศนิยมได้

32.  เมื่อกำหนดทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้   สามารถบอกค่าโดยประมาณเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่งหรือสองตำแหน่งได้

33.  เมื่อกำหนดโจทย์การบวกทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้  สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

34.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการบวกทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้   สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  

35.  เมื่อกำหนดโจทย์การลบทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้  สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

36.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการลบทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้   สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  

37.  เมื่อกำหนดโจทย์การคูณทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้  สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

 38.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการคูณทศนิยมที่ผลคูณเป็นทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้   สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบ   และแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

39.  เมื่อกำหนดโจทย์การหารทศนิยมที่ตัวหารเป็นจำนวนนับให้   สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

40.  เมื่อกำหนดโจทย์การหารทศนิยมที่ตัวหารเป็นทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้   สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

41.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการหารทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งให้   สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ 

42.  เมื่อกำหนดโจทย์การบวก  ลบ  คูณ  หารทศนิยมระคนที่ผลลัพธ์ไม่เกินสามตำแหน่งให้  สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้  และแสดงวิธีทำได้

43.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการบวก  ลบ  คูณ  หารทศนิยมระคนที่ผลลัพธ์ไม่เกินสามตำแหน่งให้  สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ 

44.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการคูณและการหาร (บัญญัติไตรยางศ์) ให้  สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ 

45.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาร้อยละให้  สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ 

 สาระที่  2  การวัด

46.  เมื่อกำหนดรูปสี่เหลี่ยมให้  สามารถหาพื้นที่ได้

47.  เมื่อกำหนดสถานการณ์กับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมให้  สามารถคาดคะเนพื้นที่เป็นตารางเมตร  ตารางเซนติเมตร  และตารางวา  พร้อมทั้งอภิปรายเกี่ยวกับค่าที่ได้จากการคาดคะเนกับพื้นที่จริงได้

48.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่และความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมให้  สามารถวิเคราะห์โจทย์        หาคำตอบและแสดงวิธีทำได้

49.  เมื่อกำหนดรูปวงกลมให้สามารถหาความยาวของเส้นรอบรูปวงกลมได้

50.  เมื่อกำหนดรูปวงกลมให้สามารถหาพื้นที่ได้

51.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่และความยาวรอบรูปวงกลมให้  สามารถวิเคราะห์โจทย์  หาคำตอบและแสดงวิธีทำได้

52.  เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรหรือความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากให้  สามารถวิเคราะห์โจทย์     หาคำตอบและแสดงวิธีทำได้

53.  เมื่อกำหนดทิศทั้งแปดให้สามารถบอกชื่อและทิศทางของทิศทั้งแปดได้

54.  เมื่อกำหนดรูปภาพ  แผนที่แผนผังแสดงเส้นทางการเดินทางหรือแสดงตำแหน่งของสิ่งต่างๆ  โดยมีทิศและมาตราส่วนกำกับไว้ให้  สามารถอธิบายเส้นทางจากตำแหน่งหนึ่งไปอีกตำแหน่งหนึ่ง  หรือบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ โดยระบุทิศทางและระยะทางจริงได้

 55.  เมื่อกำหนดเกี่ยวกับสถานการณ์เกี่ยวกับตำแหน่งของสิ่งต่างๆ  การเดินทางให้   สามารถเขียนแผนผัง    แสดงตำแหน่งของสิ่งต่างๆ  แผนผังแสดงเส้นทางการเดินทางโดยใช้มาตราส่วนที่กำหนดให้  หรือกำหนดมาตราส่วนเองได้

                                              สาระที่  3   เรขาคณิต

56.  เมื่อกำหนดสิ่งของ  รูปเรขาคณิต  และเส้นทางให้  สามารถนึกภาพพร้อมทั้งอธิบายได้

57.  เมื่อกำหนดรูปคลี่ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  ทรงกระบอก   กรวย  ปริซึม  หรือพีระมิดให้  สามารถประดิษฐ์เป็นรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นๆ ได้

58.  เมื่อกำหนดทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก   ทรงกระบอก   กรวย  ปริซึม  หรือพีระมิดให้  สามารถบอกได้ว่าประกอบด้วยรูปเรขาคณิตสองมิติใดบ้าง  พร้อมทั้งเขียนรูปเรขาคณิตสองมิตินั้นได้

59.  เมื่อกำหนดรูปเรขาคณิตสองมิติให้  สามารถบอกได้ว่าประกอบเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติใด

60.  เมื่อกำหนดชนิดของรูปเรขาคณิตสามมิติให้  สามารถบอกส่วนประกอบและอธิบายลักษณะของรูปเรขาคณิตนั้นได้

61.  เมื่อกำหนดมุมให้สองมุม  สามารถบอกได้ว่ามุมที่กำหนดให้มีขนาดเท่ากันหรือไม่ พร้อมทั้งบอกเหตุผลประกอบ

62.  เมื่อกำหนดมุมให้  สามารถใช้ไม้โพรแทรกเตอร์แบ่งครึ่งมุมได้

63.  เมื่อกำหนดส่วนของเส้นตรงให้  สามารถใช้ไม้บรรทัดแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้ได้

64.  เมื่อกำหนดรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆให้  สามารถหาเส้นทแยงมุมและบอกสมบัติของเส้นทแยงมุมได้

65.  เมื่อกำหนดความยาวของด้าน  ความยาวของเส้นทแยงมุม  หรือขนาดของมุมให้  สาทารถสร้างรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆได้

66.  เมื่อกำหนดเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นขนานคู่หนึ่งให้  สามารถบอกชื่อมุมแย้งที่เท่ากันได้

67.  เมื่อกำหนดเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นขนานคู่หนึ่งให้  สามารถบอกชื่อมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่รวมกันเป็น  180  องศาได้

68.  เมื่อกำหนดเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นขนานคู่หนึ่งให้  สามารถบอกได้ว่าเส้นตรงคู่นั้นขนานกันหรือไม่โดยใช้สมบัติการเท่ากันของมุมแย้ง  หรือผลบวกของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดเป็น  180  องศา

                                                  สาระที่ 4    พีชคณิต

69.  เมื่อกำหนดสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับซ้อนให้  สามารถวิเคราะห์สถานการณ์หรือปัญหาและเขียนให้อยู่ใน  รูปประโยคสัญลักษณ์ที่มีตัวไม่ทราบค่าได้

70.  เมื่อกำหนดประโยคแสดงการบวก  การลบ  การคูณ  หรือการหารให้  สามารถบอกได้ว่าเป็นสมการหรือไม่เป็นสมการ

71.  เมื่อกำหนดสมการให้  สามารถบอกได้ว่าเป็นสมการที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จ

 72.  เมื่อกำหนดสมการเกี่ยวกับการบวก  การลบ  การคูณ  หรือการหารที่มีตัวไม่ทราบค่าหนึ่งตัวให้  สามารถหาคำตอบและแสดงวิธีแก้สมการได้

                                  สาระที่ 5   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

73.  เมื่อกำหนดประเด็นต่างๆให้  สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

74.  เมื่อกำหนดแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบให้  สามารถอ่านข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่างๆได้

75.  เมื่อกำหนดข้อมูลให้  สามารถเขียนแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบได้

76.  เมื่อกำหนดกราฟเส้นให้  สามารถอ่านข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่างๆได้

77.  เมื่อกำหนดข้อมูลให้สามารถเขียนกราฟเส้นได้

78.  เมื่อกำหนดแผนภูมิรูปวงกลมให้  สามารถอ่านข้อมูล  และอภิปรายประเด็นต่างๆได้

79.  เมื่อกำหนดสถานการณ์ให้  สามารถอภิปรายเหตุการณ์เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับคำที่มีความหมายเช่นเดียว  กับคำว่า “  แน่นอน “  “ อาจจะใช่หรือไม่ใช่ “   “ เป็นไปไม่ได้ “  และรู้จักใช้คำเหล่านี้ได้

                                สาระที่ 6  ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์

80.  ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหาได้

81.  ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแก้ปัญหาในสถานการณ์จริงได้

82.  ให้เหตูผลประการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม

83.  ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร   สื่อความหมาย   และนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

84.  นำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงในการเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ  ในวิชาคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นได้

85.  นำความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และในชีวิตจริงได้

86.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน