วิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อจัดกลุ่มตัวชี้วัด

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิด  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

สาระที่ ๑  จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน ค ๑.๑   เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

ตัวชี้วัด

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑.  เขียนและอ่านทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง

 

 

 

 

 

 

นักเรียนรู้อะไร 

  การอ่านและเขียน

ทศนิยมอาศัยค่าของตัวเลขประจำหลักแต่ละหลัก 

นักเรียนทำอะไรได้ 

   เขียนและอ่านทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งได้ 

 

- ทักษะการแปลความ

เขียนและอ่านทศนิยม ที่กำหนด

๑. ทำความเข้าใจความหมาย

ของทศนิยม

 ๒. นำเสนอวิธีการอ่านและการเขียน

๓. ฝึกปฏิบัติการอ่านและเขียน

๔. สรุปและเรียบเรียงหลักเกณฑ์ วิธีการอ่านและการเขียน

๒. เปรียบเทียบและเรียงลำดับเศษส่วนและทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง

 

 

 

 

 

 

 

นักเรียนรู้อะไร 

  การเปรียบเทียบหรือ

เรียงลำดับเศษส่วนและทศนิยม พิจารณาจากค่าที่แสดงจำนวนของเศษส่วนและทศนิยม

นักเรียนทำอะไรได้ 

 เปรียบเทียบและเรียงลำดับเศษส่วนและทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งได้

๑. ทักษะการเปรียบเทียบ

๒. ทักษะการเรียงลำดับ

   เขียนแสดงการเปรียบเทียบและเรียงลำดับเศษส่วนและทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง

 

๑. การกำหนดเกณฑ์ในการเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ

๒. พิจารณาเศษส่วนและทศนิยม

๓. แสดงวิธีการเปรียบเทียบ

และเรียงลำดับ

๔. สรุปหลักเกณฑ์เปรียบเทียบและเรียงลำดับ 

 

 

 

๓. เขียนทศนิยมในรูปเศษส่วน  และเขียน

เศษส่วนในรูปทศนิยม

 

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

  เศษส่วนและทศนิยม

มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่เปลี่ยนรูปกันได้

นักเรียนทำอะไรได้ 

    เขียนทศนิยมในรูปเศษส่วนและเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยมได้

 

 

 

 

 

 

 

 

- ทักษะการแปลความ

๑. เขียนแสดงการจับคู่ทศนิยมและเศษส่วนที่มีค่าเท่ากันมากกว่า ๒๐ จำนวน

๒. เขียนทศนิยมในรูปเศษส่วนและเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม

 

 

๑. ทำความเข้าใจความหมาย

ของเศษส่วน และทศนิยม

๒. นำเสนอความหมายที่ตรงกัน

หรือสัมพันธ์กัน

๓. นำเสนอวิธีการเขียน

๔. ฝึกปฏิบัติการเขียน

๕. สรุปและเรียบเรียงหลักเกณฑ์

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๑  จำนวนและการดำเนินการ 

มาตรฐาน ค ๑.๒    เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง การดำเนินการต่าง ๆ 

                               และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา  

ตัวชี้วัด

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑.  บวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วน  จำนวนคละ  และ

ทศนิยม  พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

  เศษส่วน จำนวนคละ และทศนิยมสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบคูณ หารระคนกันได้  โดยที่ผลลัพธ์อาจเป็นเศษส่วนหรือทศนิยม

 

นักเรียนทำอะไรได้ 

๑. บวก ลบ คูณ หาร และบวกลบคูณ หารระคน เศษส่วน จำนวนคละ และทศนิยมได้

๒. พิจารณาความถูกต้องของคำตอบอย่างสมเหตุ

สมผล

๑.  ทักษะการแปลความ

๒. ทักษะการให้เหตุผล

 

๑. เขียนแสดงวิธีการบวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วน จำนวนคละ  และทศนิยม 

๒. เขียนอธิบายให้เหตุผลถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ

๑. ทำความเข้าใจความหมายของ

การบวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ

 คูณ หารระคน

๒. หาวิธีการนำเสนอความหมายของ

การบวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ

คูณ หารระคน

 ๓. แสดงวิธีการบวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคน

๔. ฝึกปฏิบัติโดยทำชิ้นงาน

๕. สรุปและเรียบเรียงหลักเกณฑ์ วิธีการ

๖. พิจารณาให้เหตุผลความสมเหตุสมผลของคำตอบ

 

 

๒.  วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคนของ

จำนวนนับ  เศษส่วน

จำนวนคละ ทศนิยม  และ

ร้อยละ  พร้อมทั้งตระหนัก

ถึงความสมเหตุสมผลขอ

คำตอบ  และสร้างโจทย์

ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนนับ

ได้

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

  การแก้โจทย์ปัญหา

ระคน สามารถทำได้หลายวิธี แต่ควรเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม และดำเนินการตามขั้นตอนของการแก้ปัญหา

 

นักเรียนทำอะไรได้ 

๑. วิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้

๒. แสดงวิธีหาคำตอบ

๓. พิจารณาความถูกต้องของคำตอบอย่างสมเหตุสมผลได้

๔. สร้างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนนับได้

 

๑. ทักษะกระบวนการ

คิดแก้ปัญหา

๑. เขียนแสดงขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของจำนวนนับ เศษส่วน จำนวนคละ ทศนิยม และร้อยละ

๒. เขียนแสดงการ

ให้เหตุผลความสมเหตุสมผลของคำตอบ

๑. ทำความเข้าใจโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคน พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ  และการสร้างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนนับ

๒. วางแผนในการแก้ปัญหาโดยคำนึงถึงหลักการ หรือวิธีการวิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคน   และสร้างโจทย์ปัญหาที่สามารถทำได้หลายวิธี แต่ควรเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

๓. ดำเนินการตามแผนที่วางแผนไว้

๔. สรุปและตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน

 

 

 

 

 

สาระที่ ๑  จำนวนและการดำเนินการ 

มาตรฐาน ค ๑.๓   ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา

ตัวชี้วัด

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑. บอกค่าประมาณใกล้เคียง

จำนวนเต็มหลักต่าง ๆ ของ

จำนวนนับ และนำไปใช้ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

  การนำจำนวนไปใช้

บางครั้งอาจใช้ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มของหลักต่าง ๆ ของจำนวนนับ

 

นักเรียนทำอะไรได้ 

๑. บอกค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มหลักต่างๆ ของจำนวนนับและนำไปใช้ได้

 

๑.  ทักษะการเชื่อมโยง

๒. ทักษะการระบุ

๓. ทักษะการนำความรู้ไปใช้

๑. เขียนแสดงการประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ ของจำนวนนับ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

๒. เขียนสรุปหลักเกณฑ์ การประมาณค่าใกล้เคียง

๑. สังเกตค่าประมาณใกล้เคียงจำนวน

เต็มหลักต่าง ๆ

๒. บอกสิ่งที่สังเกตได้เกี่ยวกับ

หลักการหรือวิธีการค่าประมาณ

ใกล้เคียงจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ

๓. เชื่อมโยงสิ่งที่ได้จากการสังเกต กับสิ่งที่เคยรู้มาก่อนหรือจากประสบการณ์เดิม

๔. สรุปหลักเกณฑ์การประมาณค่า

๕.นำหลักเกณฑ์การประมาณค่าไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดให้

๒. บอกค่าประมาณของ

ทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  นักเรียนรู้อะไร 

 การนำทศนิยมไปใช้

บางครั้งอาจใช้ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มของหลักต่าง ๆ ของทศนิยม

 

นักเรียนทำอะไรได้ 

   บอกค่าประมาณของทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งได้

๑.ทักษะการสังเกต

๒. ทักษะการระบุ

 

  เขียนค่าประมาณ

ของทศนิยมไม่เกิน

สามตำแหน่ง

 

 

 

 

 

 

๑. สังเกตตัวอย่างการประมาณค่า

๒. บอกสิ่งที่สังเกตได้เกี่ยวกับ

หลักการหรือวิธีการประมาณค่า

๓. ระบุค่าประมาณ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๑  จำนวนและการดำเนินการ 

มาตรฐาน ค ๑.๔  เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้  

ตัวชี้วัด

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑. ใช้สมบัติการสลับที่ 

สมบัติการเปลี่ยนหมู่  และ

สมบัติการแจกแจงในการ

คิดคำนวณ

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

 การใช้สมบัติการสลับที่  สมบัติการเปลี่ยนหมู่  และสมบัติการแจกแจง จะช่วยให้การคิดคำนวณสะดวกและรวดเร็ว

 

นักเรียนทำอะไรได้ 

  คิดคำนวณโดยใช้สมบัติการสลับที่  สมบัติการเปลี่ยนหมู่  และสมบัติการแจกแจงได้

๑ ทักษะการวิเคราะห์

๒.ทักษะการนำความรู้ไปใช้

 

 เขียนแสดงการใช้สมบัติการสลับที่  สมบัติการเปลี่ยนหมู่  และสมบัติการแจกแจงในการคิดคำนวณ

 

๑. ทบทวนสมบัติการบวกและการคูณจำนวนนับ

๒. ทำความเข้าใจสถานการณ์ การนำสมบัติต่างๆ  ไปใช้ในการคำนวณ

๓. เลือกใช้สมบัติการบวกและการคูณตามที่เหมาะสม

 

 

 

๒. หา  ห.ร.ม. และ  ค.ร.น.  ของจำนวนนับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  นักเรียนรู้อะไร 

 การหา  ห.ร.ม. และ 

ค.ร.น. ของจำนวนนับมีวิธีหาได้หลายวิธี และสามารถนำไปใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา

 

นักเรียนทำอะไรได้ 

๑. หาตัวประกอบ  จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะได้

๒. หา  ห.ร.ม. และ  ค.ร.น.  ของจำนวนนับ ได้หลายวิธีและนำไปใช้ได้

๑. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา

๒.ทักษะการนำความรู้ไปใช้

เขียนแสดงการหา   ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของจำนวนที่กำหนด

 

๑. ทำความเข้าใจความหมาย

๒. ศึกษา ทำความเข้าใจวิธีการ

๓. การนำไปใช้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๒  การวัด

มาตรฐาน ค ๒.๑  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด

ตัวชี้วัด

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑.  อธิบายเส้นทางหรือบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ โดยระบุทิศทาง  และระยะทางจริง  จากรูปภาพ  แผนที่  และแผนผัง

 

 

 

 

 

 

นักเรียนรู้อะไร 

  เส้นทางหรือตำแหน่งของสิ่งต่างๆอาจดูได้จากแผนที่หรือแผนผัง

นักเรียนทำอะไรได้ 

บอกเส้นทางหรือบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ โดยระบุทิศทาง  และระยะทางจริง  จากรูปภาพ  แผนที่  และ แผนผังได้

- ทักษะการให้เหตุผผล

-ทักษะการแปลความ 

  เขียนอธิบายเส้นทางหรือตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ โดยระบุทิศทาง  และระยะทางจริง  จากรูปภาพ  แผนที่  และ แผนผังที่กำหนด

 

๑. สังเกต

๒. วิเคราะห์  ทำความเข้าใจ  และแปลความ

๓. การบอกและอธิบาย 

 

 

 

 

 

 

 

๒.  หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นักเรียนรู้อะไร 

  การหาพื้นที่ของรูป

สี่เหลี่ยมหาได้จากการนับตาราง หรือจากการใช้สูตรหรือหาได้จากการหาผลบวกของพื้นที่รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่ประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมนั้น

นักเรียนทำอะไรได้ 

๑. หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมโดยใช้ความยาวของด้านได้

๒. หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมโดยใช้สมบัติของเส้นทแยงมุมได้

- ทักษะการนำความรู้ไปใช้

- ทักษะการวิเคราะห์

เขียนแสดงการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมที่กำหนดให้

๑. ทบทวนความรู้เรื่องการหาพื้นที่

๒. สังเกตสถานการณ์การหาพื้นที่

๓. มองเห็นความเหมือนของสถานการณ์เดิมกับสถานการณ์ใหม่

๔. นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เรียนรู้มาแล้ว

 

 

 

๓.  หาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปวงกลม

 

 

 

 

 

 

 

 

นักเรียนรู้อะไร 

  ความยาวรอบรูปและพื้นที่

ของรูปวงกลมมีความสัมพันธ์กับความยาวของรัศมี

นักเรียนทำอะไรได้ 

หาความยาวรอบรูปวงกลมหรือความยาวรอบวง และหาพื้นที่ของรูปวงกลมได้

-  ทักษะการนำความรู้ไปใช้

- ทักษะการวิเคราะห์

เขียนแสดงการหาความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปวงกลม

 

๑. สังเกตขั้นตอนในการหาความยาวรอบรูปและพื้นที่

 ๒. ศึกษาวิธี  ในการหา

 ๓. นำความรู้ไปใช้

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๒  การวัด

มาตรฐาน ค ๒.๒   แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด

ตัวชี้วัด

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑.  แก้ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่  ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมและรูปวงกลม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

  การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ

พื้นที่  ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมและรูปวงกลมสามารถทำได้หลายวิธี แต่ควรเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม และดำเนินการตามขั้นตอนของการแก้ปัญหา

นักเรียนทำอะไรได้

๑.  คาดคะเนพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมได้

๒.   แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมและรูปวงกลมได้

- ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา

เขียนแสดงขั้นตอนในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่  ความยาว

รอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมและรูปวงกลม

 

๑. ทำความเข้าใจปัญหา วิเคราะห์ปัญหา

๒. วางแผนแก้ปัญหา

๓.แก้ปัญหาตามแผนหรือขั้นตอนการแก้ปัญหา

๔. ตรวจสอบและสรุป

 

 

 

๒.  แก้ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรและความจุของ

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

   การแก้โจทย์ปัญหา

เกี่ยวกับปริมาตรและความจุ

ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

สามารถทำได้หลายวิธี แต่ควรเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม และดำเนินการตามขั้นตอนของการแก้ปัญหา

นักเรียนทำอะไรได้

   แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรหรือความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากได้

- ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา

 

๑. หาปริมาตรหรือความจุของทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก

๒.  แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยม

มุมฉาก 

 

๑. ทบทวนความรู้เดิม

๒. ทำความเข้าใจ  วิเคราะห์ปัญหา

๓. วางแผน  ออกแบบ การแก้ปัญหา

๔. ดำเนินการตามแผน

๕. ตรวจสอบและสรุปการแก้ปัญหา

 

 

 

 

 

 

 

 

๓.  เขียนแผนผังแสดงตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ  และแผนผังแสดงเส้นทางการเดินทาง

 

 

 

 

 

  นักเรียนรู้อะไร 

 การเขียนแผนผังต้องรู้ขนาดของของจริง และใช้มาตราส่วนที่เหมาะสม และต้องมีมาตราส่วนที่ใช้เขียนกำกับไว้ด้วย และบ่งทิศทางของทิศเหนือเพื่อความชัดเจน 

นักเรียนทำอะไรได้ 

๑.  เขียนแผนผังแสดงตำแหน่งของสิ่งต่างๆ

๒.  แสดงเส้นทางการเดินทางได้

 

- ทักษะการสังเกต

-ทักษะการแปลความ

 

๑. เขียนแผนผังแสดงเส้นทางการเดินทางจากบ้านมาโรงเรียน

๒. เขียนแผนผังแสดงตำแหน่งของสิ่งต่างๆที่กำหนดให้ 

 

๑. สังเกตและจดบันทึก

๒. ทำความเข้าใจข้อมูลที่จะเขียน

๓. หากลวิธีในการเขียน

 

 

 

 

 

สาระที่ ๓  เรขาคณิต

มาตรฐาน ค ๓.๑   อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ

ตัวชี้วัด

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑.  บอกชนิดของรูปเรขาคณิตสองมิติที่เป็นส่วนประกอบของรูปเรขาคณิตสามมิติ

 

 

 

 

  นักเรียนรู้อะไร 

   รูปเรขาคณิตสามมิติประกอบด้วยรูปเรขาคณิตสองมิติหลายรูป

นักเรียนทำอะไรได้

  บอกชนิดของรูปเรขาคณิตสองมิติที่เป็นส่วนประกอบของรูปเรขาคณิตสามมิติได้

๑.ทักษะการสังเกต

๒.ทักษะการระบุ

๑. ภาพวาดรูปคลี่จากรูปเรขาคณิตสามมิติที่กำหนด

๒. เขียนรูปเรขาคณิตสองมิติที่เป็นส่วนประกอบของรูปเรขาคณิตสามมิติ 

 

๑. สังเกต

๒. วิเคราะห์ส่วนประกอบ

 ๓. ระบุชนิดของรูปเรขาคณิต

 

 

 

๒. บอกสมบัติของเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่าง ๆ

 

 

 

 

 

 

  นักเรียนรู้อะไร 

   เส้นทแยงมุมของรูป

สี่เหลี่ยมต่างชนิดกันจะมีทั้งที่สมบัติต่างกัน และเหมือนกัน

นักเรียนทำอะไรได้ 

  บอกสมบัติของเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมชนิด

ต่าง ๆ ได้

- ทักษะการพิสูจน์ความจริง

เขียนแสดงสมบัติของเส้นทแยงมุมของรูป

สี่เหลี่ยมชนิดต่าง ๆ

 

๑. ศึกษาสมบัติของเส้นทแยงมุม

๒. แสวงหาวิธีการและข้อมูลโดย

 การสังเกตและตรวจสอบ

 ๓. สรุปผลที่ได้จากการสังเกตและตรวจสอบ

๔. นำผลสรุปที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนด

 

๓.  บอกได้ว่าเส้นตรงคู่ใด

ขนานกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

 ความสัมพันธ์ของมุมแย้ง และมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด นำมาพิจารณาว่าเส้นตรงคู่ใดขนานกัน

นักเรียนทำอะไรได้

๑.  บอกได้ว่าเส้นตรงคู่ใดขนานกัน โดยอาศัยมุมแย้ง

๒. บอกได้ว่าเส้นตรงคู่ใดขนานกัน โดยอาศัยผลบวกของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด

 

 

 

-  ทักษะการให้เหตุผล

เขียนแสดงเส้นตรงที่ขนานกัน

๑. การสร้างความเข้าใจ

๒. สังเกตและเข้าใจความหมาย

๓. อธิบายลักษณะ

๔. สรุปลักษณะ

 

 

 

สาระที่ ๓   เรขาคณิต

มาตรฐาน ค ๓.๒  ใช้การนึกภาพ (visualization)  ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทาง

                              เรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา

ตัวชี้วัด

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑.  ประดิษฐ์ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 

ทรงกระบอกกรวย  ปริซึม  และ   พีระมิด จากรูปคลี่หรือรูปเรขาคณิตสองมิติที่กำหนดให้

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

 รูปเรขาคณิตสามมิติ

เมื่อคลี่ออกจะได้รูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตสองมิติที่สามารถประกอบเป็นรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นได้

นักเรียนทำอะไรได้ 

  ประดิษฐ์ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย ปริซึม และพีระมิดจากรูปคลี่หรือรูปเรขาคณิตสองมิติที่กำหนดให้ได้

 

 

 

- ทักษะการปรับโครงสร้าง

ประดิษฐ์ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย ปริซึม และพีระมิด จากรูปคลี่ หรือรูปเรขาคณิตสองมิติ

๑. ศึกษาโครงสร้างของรูปเรขาคณิต

 ๒. บอกและอธิบายลักษณะ

๓. ออกแบบ

๔. ระบุชนิด

 

 

 

๒.  สร้างรูปสี่เหลี่ยม

ชนิดต่าง ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

 รูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆ

มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับด้านและมุมภายในของรูปสี่เหลี่ยมนั้นๆ

นักเรียนทำอะไรได้ 

   สร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส   

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า   

รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 

รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 

รูปสี่เหลี่ยมคางหมู รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว  และรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า

 

 

 

 

- ทักษะการสังเคราะห์

แผนภาพการสร้าง

๑. รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

๒. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

๓. รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

๔. รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

๕. รูปสี่เหลี่ยมคางหมู

๖. รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว

๗. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า

๑. สังเกตและบอกลักษณะ

๒.วิเคราะห์ส่วนประกอบและเปรียบเทียบลักษณะ

๓. ออกแบบ ตามเกณฑ์ที่สรุป

 

 

 

สาระที่ ๔  พีชคณิต

มาตรฐาน  ค ๔.๑  เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป(Pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน

 

ตัวชี้วัด 

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้ 

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑. แก้ปัญหาเกี่ยวกับแบบรูป

 

 นักเรียนรู้อะไร 

แบบรูปของจำนวนเป็น

ความสัมพันธ์ของจำนวน

นักเรียนทำอะไรได้ 

๑. บอกความสัมพันธ์ของแบบรูปของจำนวนที่กำหนด

๑.ทักษะการเชื่อมโยง

๒.ทักษะการหาแบบแผน

- เขียนแสดงความสัมพันธ์ของจำนวนที่กำหนด 

๑. สังเกต

๒. ใช้องค์ประกอบที่เป็นลักษณะร่วม

๓.เชื่อมโยงความสัมพันธ์   และค้นหา

๔. นำเสนอ  ตรวจสอบและสรุป

 

 

สาระที่ ๔  พีชคณิต

มาตรฐาน  ค ๔.๒  ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical  model) อื่น ๆ แทน

                               สถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา

 

ตัวชี้วัด 

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑. เขียนสมการจากสถานการณ์หรือปัญหา และแก้สมการพร้อมทั้ง

ตรวจคำตอบ

 

 นักเรียนรู้อะไร 

 การแก้สมการเป็นการหาคำตอบของสมการ  และใช้สมการช่วยในการแก้โจทย์ปัญหาได้

 

นักเรียนทำอะไรได้ 

๑. เขียนสมการเชิงเส้นที่มีตัวไม่ทราบค่าหนึ่งตัว

๒. แก้สมการโดยใช้สมบัติการเท่ากันเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณหรือการหาร

๓. แก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ

 

 

 

 

 

- กระบวนการแก้ปัญหา

- เขียนสมการเชิงเส้นที่มีตัวไม่ทราบค่าหนึ่งตัว

- เขียนแสดงวิธีหรือแผนภาพการแก้สมการโดยใช้สมบัติการเท่ากันเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ หรือการหาร

- เขียนแสดงวิธีการ

แก้โจทย์ปัญหา

ด้วยสมการ

๑. ทำความเข้าใจปัญหา

๒. วางแผนแก้ปัญหา

๓.แก้ปัญหาตามแผนหรือขั้นตอนการแก้ปัญหา

๔. ตรวจสอบและสรุป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๕   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

มาตรฐาน ค ๕.๑   เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล  

ตัวชี้วัด

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑.   อ่านข้อมูลจากกราฟเส้น  และแผนภูมิรูปวงกลม

 

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

 กราฟเส้น และแผนภูมิ

รูปวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลรูปแบบหนึ่ง

นักเรียนทำอะไรได้

๑. อ่านข้อมูลจากกราฟเส้นได้

๒. อ่านข้อมูลจากแผนภูมิรูปวงกลมได้

 

 

 

 

 

 

- ทักษะการแปลความ

อ่านข้อมูลจากกราฟเส้น  และแผนภูมิรูปวงกลมที่กำหนดให้พร้อมทั้งตอบคำถาม

 

๑. สังเกต

๒. ทำความเข้าใจข้อมูล

๓. การแปลความจากกราฟ

๔. เรียบเรียงและแปลความ

 

 

 

 

 

 

๒.  เขียนแผนภูมิแท่ง

เปรียบเทียบและกราฟเส้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบเป็นการนำแผนภูมิแท่งแสดงจำนวนของข้อมูล ๒ ชนิดมาเขียนไว้ชิดกันเพื่อเปรียบเทียบข้อมูล  ส่วนกราฟเส้นเป็นการนำเสนอข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล โดยใช้แกนมุมฉาก 

นักเรียนทำอะไรได้ 

  นำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบและกราฟเส้นได้

 

 

 

 

 

 

- ทักษะการแปลความ

๑. เขียนแผนภูมแท่งเปรียบเทียบ เพื่อแสดงข้อมูล

๒. เขียนกราฟเส้น เพื่อแสดงข้อมูล

๑. ทำความเข้ใจในข้อมูลและความหมายของข้อมูล

๒. กำหนดวิธีการนำเสนอข้อมูล

๓. ออกแบบการนำเสนอข้อมูล

๔. เรียบเรียงข้อมูลตาม

 ๕. นำเสนอตามรูปแบบที่ต้องการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 สาระที่ ๕   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

มาตรฐาน ค ๕.๒  ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล

ตัวชี้วัด

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน  

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑.  อธิบายเหตุการณ์โดยใช้คำที่มีความหมายเช่นเดียว กับคำว่า

     –     เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

–                  อาจจะเกิดขึ้น

หรือไม่ก็ได้

     –     ไม่เกิดขึ้นอย่าง

แน่นอน

 

 

 

 

 

 นักเรียนรู้อะไร 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน อาจจะเกิดหรือไม่ หรือไม่ก็ได้  หรือไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

นักเรียนทำอะไรได้

 อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน หรืออาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้หรือไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนโดยใช้คำที่สื่อความหมายจากเหตุการณ์นั้น ๆ ได้

 

 

- ทักษะการให้เหตุผล

เขียนอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน /

อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ / ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน พร้อมให้เหตุผลสนับสนุน

๑. รับรู้และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์

๒. ค้นหาสาเหตุของเหตุการณ์และลักษณะการเกิดของเหตุการณ์

๓. วิเคราะห์เหตุการณ์และตรวจสอบความเป็นไปได้ของเหตุการณ์

๔. อธิบายความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ให้สอดคล้องกันทั้งเหตุและผล

๕. สรุปเหตุการณ์

 

 

 

 สาระที่ ๖  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

มาตรฐาน ๖.๑  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์   

                        และการนำเสนอ  เชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ  

                        และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 

ตัวชี้วัด 

นักเรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้  

ทักษะการคิด 

ชิ้นงาน/ภาระงาน

แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด    

๑.  ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา 

๒. ใช้ความรู้  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาตร์

      ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม

๓. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปได้อย่าง เหมาะสม

๔. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร

      สื่อความหมาย  และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง

๕.  เชื่อมโยงความรู้ต่างๆในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยง

      คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ

๖.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 

 

จะนำไปแทรกใน สาระที่  ๑ - สาระที่๕   

ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ 

พัฒนาทักษะการคิด 

 

            หมายเหตุ  ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  ไม่มีการวิเคราะห์ตัวชี้วัด ในมาตรฐาน ค ๕.๓ ระดับชั้นนี้ยังไม่ได้กำหนดให้เรียน