เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในไทย

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย  

   
         เนื่องจากสัตว์ป่าได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จากสาเหตุดังกล่าวแล้วข้างต้น จนเป็นที่น่าวิตกว่าจะหมดสิ้นจากแผ่นดินไทยเป็นเหตุให้มีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นการณ์ไกลและได้แสดงออกซึ่งความห่วงใยและเริ่มเรียกร้องให้รัฐบาลสนใจต่อทรัพยากรสัตว์ป่า ในที่สุดรัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ออกพระบัญญัติและวางระเบียบการใช้ประโยชน์และร่างแนวทางการจักการสัตว์ป่าของประเทศขึ้นในปี พ.ศ.2503 โดยอ้างเหตุผลดังนี้คือ “สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่ายิ่งของประเทศชนิดหนึ่งที่อำนวยประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ วิทยาการและรักษาความงามตลอดจนคุณค่าธรรมชาติไว้ แต่ปรากฏว่าในปัจจุบันนี้สัตว์ป่าที่มีค่าบางชนิดได้ถูกล่าและทำลายจนสูญพันธุ์ไปแล้วและบางชนิดก็กำลังจะสูญพันธุ์ไป ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่สัตว์ป่าโดยเฉพาะ จึงสมควรตรากฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้นไว้เพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชนส่วนรวมให้สมกับที่ชาวไทยส่วนใหญ่เป็นพุทธมามกะ “ พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 “ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2504 เป็นต้นไป ต่อมาได้ยกเลิกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 และได้ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ขึ้นใช้แทนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคือบริเวณพื้นที่กำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยเพื่อรักษาไว้ซึ่งพันธุ์สัตว์ป่า กระทำได้โดยประกาศพระราชกฤษฎีกา จึงนับว่าเป็นพื้นที่สำคัญยิ่งต่อการอยู่รอดของสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาไปตามความเจริญของประเทศ กรมป่าไม้เป็นส่วนราชการของรัฐที่มีน่าที่รับผิดชอบในเรื่องทรัพยากรสัตว์ป่าได้เสนอรัฐบาลจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขึ้นหลายแห่งด้วยกัน โดยกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศปัจจุบันมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอยู่ 36 แห่ง ดังตารางที่ 10 นอกจากเขตรักษาพันธุ์ป่าแล้ว รัฐบาลยังกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 42 เขตห้ามล่าสัตว์ป่านี้ หมายถึง อาณาบริเวณพื้นที่ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดหรือเป็นที่ที่สัตว์จำเป็นต้องใช้สำหรับกิจกรรมบางอย่างในการดำรงชีวิต เช่นเป็นที่ผสมพันธุ์เลี้ยงลูกอ่อน เป็นแหล่งอาหาร เป็นที่ลงพักในระหว่างการเดินทางย้ายถิ่นฐานและอื่นๆ พื้นที่ที่ได้กำหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามักจะมีขนาดไม่กว้างขวางมากนัก และส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่ใช้ในราชการหรือเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเท่าที่รัฐบาลได้จัดตั้งเรียบร้อยมี 48 แห่งด้วยกัน (ตารางที่ 11) นอกจากนั้นกรมป่าไม้ยังจัดให้มีศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า สถานีวิจัยสัตว์ป่า อุทยานสัตว์ป่า และศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า (ตารางที่ 12) อีกด้วย


ที่มา : http://www.ubonzoo.com/wild_animals/wild_worth_main.htm


0


zoo

: ผู้ใช้ทั่วไป
ไม่ระบุ