แนวทางอนุรักษ์สัตวป่าสงวนและสัตว์ป่าอื่นๆ

แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ  



        การมีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 และต่อมาเป็นพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 นับเป็นนิมิตดีสำหรับประเทศไทยที่จะได้มีทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างอุดมสมบูรณ์ต่อไป ในเมื่อได้มีกฎหมายเพื่อเป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติ หน้าที่ต่อไปก็คือการควบคุมและดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว และหาทางที่จะปรับปรุงให้กฎหมายนี้มีความสมบูรณ์และเหมาะสมยิ่งๆ ขึ้นไป การที่จะให้การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้น จำเป็นต้องมีหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่รับผิดชอบในด้านนี้ที่เข็มแข็งและมีความสามารถ อีกทั้งยังต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังอีกด้วย ปัจจุบันได้มีหน่วยงานโดยตรงในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าคือส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า (กองอนุรักษ์สัตว์ป่าเดิม) กรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เนื่องจากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่ายังเป็นหน่วยงานใหม่ ยังขาดทั้งทางด้านงบประมาณและกำลังคนที่ใช้ในการบริหารและรักษากฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการที่มีความรู้ทางด้านนี้อย่างแท้จริง ในด้านของประชาชนนั้น ส่วนใหญ่ยังเข้าใจและเห็นความสำคัญของทรัพยากรสัตว์ป่าน้อยมาก แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่านั้น พอสรุปได้ดังนี้ :-  

                1)   มีกฎหมายที่เหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์

2)   การวางแผนการจัดการสัตว์ป่า การวางแผนการจัดการสัตว์ป่าให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยความรู้ทางทฤษฎี ความชำนาญในท้องที่ และข้อมูลในด้านต่างๆของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ที่สำคัญคือต้องมีจุดมุ่งหมายหรือนโยบายที่แน่นอนในการอนุรักษ์สัตว์ป่า

3)    การเตรียมกำลังคนและนักวิชาการทางด้านสัตว์ป่า

4)    การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทรัพยากรสัตว์ป่าเป็นทรัพยากรที่ถูกใช้ประโยชน์มานานแต่ประชาชนทั่วไป
ยังขาดความรู้สึกสำนึกถึงคุณประโยชน์ของสัตว์ป่าดังนั้นรัฐบาลโดยเฉพาะกรมป่าไม้ควรเน้นหนักในด้านเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้ถึงความสัมพันธุ์และประโยชน์ของทรัพยากรนี้เพื่อที่จะได้ให้ความร่วมมือต่อรัฐบาลในด้านการอนุรักษ์ต่อไป

5)     การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์ป่าดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าสัตว์ป่า
เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้ จึงควรที่จะใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าแทนที่จะปล่อยให้หมุนเวียนไปในระบบนิเวศโดยไร้ประโยชน์ต่อมนุษย์ แต่การใช้ประโยชน์นี้จะต้องให้ถูกต้องตามวิธีการที่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนี้โดยทั่วถึงกัน

6)    การเพาะพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อให้ทรัพยากรสัตว์ป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่จะใช้ประโยชน์ตลอดจนใช้เป็นสินค้าออกของประเทศและรักษาพันธุ์ให้คงไว้ รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยเพาะพันธุ์สัตว์ป่าขึ้น สัตว์ป่าที่ได้จากการเพาะพันธุ์นี้อาจปล่อยเข้าป่าในฤดูกาลที่เหมาะสมและอาจเปิดให้ล่าในกาลต่อไป จะเห็นได้ว่านโยบายทางวิชาการและการเตรียมบุคลากรจำเป็นต้องสอดคล้องอย่างยิ่งกับเรื่องนี้ด้วย    



ที่มา : http://www.ubonzoo.com/wild_animals/wild_worth_main.htm


0


zoo

: ผู้ใช้ทั่วไป
ไม่ระบุ