ทฤษฎีสี

จิตวิทยาแห่งสี
โดย ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม
สีมีอยู่ทุกแห่งในการดำเนินชีวิต สีช่วยให้เรารู้สึกมีชีวิตชีวา ก่อให้เกิดอารมณ์ส่งผลต่อพฤติกรรมและ
ความรู้สึกที่มีต่อตนเองและผู้อื่น สีมีอิทธิพลต่อความคิด ทัศนคติ ทั้งในห้วงจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก การใช้สี
อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องเข้าใจถึงผลกระทบทางจิตวิทยาที่ว่า สีสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราในด้าน
จิตใจ การตัดสินใจ ไม่ว่าเราจะเลือกเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ และการจัดสภาพแวดล้อม หากเราเข้าใจถึง
เรื่องนี้ก็จะสามารถใช้สีมาช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีความสุข
ในอดีตความสามารถในการมองเห็นสีต่างๆ ของมนุษย์และสัตว์จะ
นำมาใช้ในการเอาตัวรอด สีบางสีช่วยให้หาอาหารได้ง่ายขึ้น เช่น สีแดงหรือ
สีเหลืองของผลไม้บางอย่างบอกให้รู้ว่าสุก สีดำบอกให้รู้ว่าเน่า เป็นต้น
นอกจากนี้สียังมีผลต่อจิตใจ เช่น สีแดงมักทำให้รู้สึกตื่นเต้น คึกคัก สีฟ้ าทำ
ให้ใจสงบเย็นลง สีหวานๆ ทำให้รู้สึกสบาย ในปัจจุบันมนุษย์ใช้สีเป็น
สัญลักษณ์ ในการจัดระเบียบสังคมเพื่อช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้ง่ายขึ้น เช่น
เมื่อเห็นสัญญาณไฟจราจรเปลี่ยนเป็นสีแดงรถจะหยุด สัญญาณให้คนข้าม
ถนนเป็นสีเขียว หรือเราจะนำจดหมายไปใส่ตู้ไปรษณีย์สีแดง ส่วนสีทองจะ
ทำให้นึกถึงของที่มีค่า
สำหรับการใช้สีในด้านอารมณ์มีการทดลองกับเด็กโดยให้เล่นเกมต่อแท่งไม้โดยใช้สีแดง เด็กๆ จะ
แสดงความก้าวร้าวกระวนกระวายใจมากกว่าปกติ ส่วนผู้ใหญ่ที่ชอบสีแดงมักเป็นคนชอบเสี่ยง โลดโผนและ
ชอบผจญภัยซึ่งอาจจะแสดงออกในรูปของการเล่นการพนัน ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่าบ่อนคาสิโนเกือบทุกแห่งมัก
ตกแต่งด้วยสีแดง เมื่อเราอยู่ในห้องสีแดงมักรู้สึกว่าวันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะสีแดงทำให้หัว
ใจเต้นถี่กว่าปกติจึงทำให้รู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วขึ้น เมื่อหัวใจเต้นถี่ขึ้นกล้ามเนื้อจะเกิดความเครียดและทำให้รู้สึก
ว่าวัตถุที่เห็นดูหนักกว่าที่เป็นจริง ส่วนสีเขียวช่วยสร้างบรรยากาศที่สมดุลทางอารมณ์ เมื่อมองวัตถุสีเขียวดวงตา
จะได้ผ่อนคลายทำให้มีสมาธิดีขึ้น ส่วนสีฟ้ าจะทำให้หัวใจและกล้ามเนื้อผ่อนคลายเราจึงรู้สึกเหมือนกับว่าเวลา
ผ่านไปช้าๆ
วาสสิลี แคนดินสกี (Wassily Kandinsky) จิตรกรแนวแอ็บสแตร็กชาวรัสเซีย กล่าวว่า “สีมีอิทธิพลต่อ
จิตวิญญาณ” เขาศึกษาและสังเกตเห็นว่าคนส่วนใหญ่รู้สึกกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต สีให้บรรยากาศที่สวย
สดใส เช่น แสงทองของพระอาทิตย์ สีเขียวของน้ำทะเล มักทำให้เรารู้สึกอบอุ่นและเป็นสุข ดังนั้นจึงนับว่าสี
มีอิทธิพลต่อมนุษย์และอาจนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ กัน เช่น นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงบำบัดเพื่อรักษา
อาการทางกายหรือทางจิตได้ด้วย
อย่างไรก็ดี..เด็กไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายต่างก็อยู่ในช่วงวัยที่ได้รับอิทธิพลจากสื่อต่างๆ มาก เช่น สี
จากตัวการ์ตูน สีจากเครื่องแต่งกายของตัวละคร รายการโทรทัศน์ที่เขาชื่นชอบ พิธีกรแต่งกายด้วยสีโทนอะไร
สภาพแวดล้อมที่ปรากฏใช้สีใดโยงความสัมพันธ์กับอารมณ์ในขณะดำเนินเรื่อง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นสีที่ใช้ในการ
แต่งกาย แต่งหน้าทาปาก ทาเล็บ ล้วนมีอิทธิพลต่อความคิดและเป็นการวางเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตและ
การเลือกใช้สีไปโดยปริยาย จะเห็นได้ว่าความชอบและความพึงพอใจในสียังเกี่ยวข้องกับช่วงวัยและเพศด้วย
ซึ่งก็มักจะได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมและการวางเงื่อนไขในสังคม สีสันสดใสเป็ นสัญลักษณ์ของวัยเด็ก
สีชมพูมักถูกมองว่าเป็ นสีของเด็กผู้หญิง สีฟ้ าเป็ นสีของเด็กผู้ชาย เมื่อโตขึ้นแนวคิดเหล่านี้จะเปลี่ยนไป
โดยทั่วไปแล้วเด็กเล็กจะรู้จักสีต่างๆ แยกสีได้อายุ 2-5 ปี แต่ยังไม่รู้จักชื่อสี เพียงแต่แยกแยะได้ ดังนั้นผู้ใหญ่
อาจจะนำความสามารถในด้านนี้มาใช้ในการสอนชื่อสีและโยงความสัมพันธ์ของสีกับสิ่งที่มีในธรรมชาติ เช่น
สีเขียวของใบไม้ สีเหลืองกับดอกดาวเรือง หรือกล้วยหอม สีน้ำตาลกับกิ่งไม้ต้นไม้ สีแดงกับมะเขือเทศ เป็นต้น
สีกับการแสดงออกของเด็ก
นักจิตวิทยาหลายท่านเห็นพ้องต้องกันว่า สีกับอารมณ์ของมนุษย์มีความเชื่อมโยงกัน และสังเกตว่าสี
เป็นสื่ออารมณ์เพราะบุคคลจะถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของสิ่งต่างๆ จากการใช้สี การเลือกใช้สีจึงมีผลโดยตรง
กับอารมณ์ของบุคคล ในกรณีของเด็กๆ ที่ฟังนิทานเรื่องเล่าที่จบอย่างมีความสุขหากให้วาดรูประบายสีจากเรื่อง
ที่ได้ฟังเด็กมักจะใช้สีเหลือง แต่ถ้าเป็นเรื่องเศร้าก็มีแนวโน้มจะเลือกสีน้ำตาล นักจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับ
อารมณ์ของเด็ก โดยใช้เทคนิคสีที่เรียกว่า “Colour Your Life” ซึ่งเหมาะกับเด็กอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป เพราะ
เป็นช่วงที่เด็กๆ พอจะรู้จักชื่อสีและเข้าใจอารมณ์ของตนเอง นักจิตวิทยาหรือนักจิตเวชจะสอนให้เด็กๆ แยกแยะ
อารมณ์ เขาจะให้เด็กๆ พูดลักษณะอารมณ์ที่ดีด้วยการใช้สีตามที่เขาพอใจ โดยจะให้กระดาษและกล่องสี ซึ่งมีสี
หลักๆ เช่น สีแดง น้ำเงิน เหลือง ส้ม ดำ เขียว ม่วง เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จะบอกให้เด็กๆ เลือกสีสำหรับสื่อ
อารมณ์ที่ไม่ดี เช่น อาการ โกรธ หงุดหงิด เบื่อ เหงา ฯลฯ เขาพบว่าเด็กๆ มักใช้สีสดใสกับอารมณ์ดี ใช้สีแดง
กับอารมณ์โกรธ ใช้สีส้มกับความสนุกสนาน และใช้สีเทากับความเหงา จากนั้นก็ให้เด็กบอกว่าชอบสีอะไร
และสังเกตว่าเขาใช้สีอะไรบ่อยและภาพที่ปรากฏบนกระดาษเป็นอย่างไร
การบำบัดด้วยสี (Colour therapy)
การบำบัดด้วยสี คือ การนำความรู้เกี่ยวกับอิทธิพลของสีไปช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยทางกายหรือจิต
ให้แก่เด็กหรือคนไข้ และใช้สีช่วยกระตุ้นให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานให้เขารู้สึกผ่อนคลายสบายใจขึ้น
เมื่อสีมีพลังจึงมีผู้นำความคิดนี้มาประยุกต์ใช้กับผู้ป่ วย หรือกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในรูปแบบต่างๆ เช่น
ในโรงพยาบาลมักใช้สีโทนอ่อนเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย สดชื่นสบาย และจะไม่ใช้สีร้อนแรงภายในห้องเด็ก
ออทิสติกที่มีความลุกลี้ลุกลน ฯลฯ
ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีอาการตัวเหลืองอย่างมาก แพทย์จะใช้แสงไฟสีฟ้ามาอาบเพื่อช่วยรักษา
อาการดังกล่าว ผู้ป่ วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงการใช้สีแดงในส่งแวดล้อมทั้งในบ้านและ
ที่ทำงาน ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะเป็นประจำควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสีเหลือง ศัลยแพทย์มักแต่งตัวด้วยเสื้อผ้า
สีเขียวทำนองเดียวกับสีประจำห้องผ่าตัด ทั้งนี้เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่าสีเขียวช่วยให้คนไข้สงบสติอารมณ์
ลดอาการปวดศีรษะหรือสายตาพร่ามัว และช่วยให้ศัลยแพทย์และผู้ช่วยมีสมาธิไม่วอกแวก
องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคารที่ต้องสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าก็จะใช้สีและสัญลักษณ์ที่สุขุม รอบคอบ
และระมัดระวัง สีที่ถ่ายทอดภาพพจน์ได้ดีคือสีน้ำเงิน หรือสีโทนฟ้ า สำหรับในวงการนักกีฬามักจะนิยมสี
ฉูดฉาด เพราะเสื้อผ้าสีสดจะสื่อความหมายถึง สมรรถภาพและสมรรถนะในการแข่งขันและให้ความรู้สึกแจ่มใส
กระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา
การนำการบำบัดด้วยสีมาใช้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การบำบัดด้วยสีที่นำมาใช้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นจะนำมาใช้ใน
ด้านของการจัดสิ่งแวดล้อม ในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีในการจัดห้องเรียน
หรือสีของอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์
ของการสอนด้วย เป็นต้นว่าในห้องที่ต้องการใช้ความสงบควรใช้สีอ่อน เช่น
สีฟ้ า สีเหลือง หรือสีเขียว ส่วนห้องที่ต้องการให้เด็กกระปรี้กระเปร่าต้องใช้สีแดง
หรือสีส้ม เป็นต้น การนำสีมาปรับพฤติกรรมและช่วยให้ลดความเคร่งเครียดหรือลดความรุนแรง อารมณ์สงบ
ครู-พ่อแม่จะต้องคำนึงถึงสีและการออกแบบห้องโต๊ะ-เก้าอี้ เพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย
เด็กสมาธิสั้นและอยู่ไม่สุขควรให้อยู่ในห้องเรียนที่มีบรรยากาศของสีที่เบาบางเยือกเย็น การแต่งกาย
ของครูก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน กล่าวคือ ไม่ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีฉูดฉาด หรือมีลวดลาย เพราะจะทำให้เด็กมี
อาการลุกลี้ลุกลน ก้าวร้าวมากขึ้น.

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


bancha

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
ศิลปะ